วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กรณีศึกษา TOYOTA MOTOR

วิเคราะห์บริษัท TOYOTA
ประเภทของธุรกิจ กิจการระดับโลกที่ดำเนินการผลิต จำหน่าย และให้บริการในธุรกิจยานยนต์
เป้าหมายของ TOYOTA เฉพาะกรณีนี้
การขยายตลาดเข้าสู่ตลาดในสหรัฐอเมริกา
การเพิ่มยอดขายที่สูงขึ้นในตลาดเป้าหมาย
การตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดเป้าหมายได้ตรงตามความต้องการ
การสร้างสรรผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีคุณภาพ
การแสดงบทบาทการเป็นพลเมืองที่ดีต่อสังคมและประเทศที่เข้าไปลงทุน

วิเคราะห์สถานการณ์

จุดแข็ง
1.      TOYOTA MOTOR เป็นบริษัทรถยนต์ต่างประเทศที่ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
2.      บริษัทมียอดขายมากกว่า 1 ล้านคันในช่วงเวลา 2 ปีติดกัน
3.      บุคลากรของบริษัทมีความชำนาญเรื่องรถยนต์เป็นอย่างดี
4.      TOYOTA วางภาพพจน์ที่ดี ทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
5.      ด้านช่องทางจัดจำหน่าย TOYOTA มีบริษัทตัวแทนที่มั่นคงและได้รับความเชื่อถือจากลูกค้า

จุดอ่อน
 1 . การที่ TOYOTA เข้ามาดำเนินกิจการในสหรัฐฯ ถือว่า TOYOTA เป็น บริษัทต่างชาติ จึงต้องเข้าไปแข่งขันกับบริษัทรถยนต์ในท้องถิ่นที่มีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว
1.      การเข้าไปลงทุนของ TOYOTA มีการจ้างงานโดยใช้แรงงานของสหรัฐฯ จึงอาจมีปัญหาในเรื่องระบบการทำงาน ค่าจ้างแรงงาน รวมถึงความสัมพันธ์ในการดำเนินงาน

โอกาส
1. ลูกค้าในสหรัฐฯ ให้การยอมรับในสินค้ารถยนต์ของ TOYOTA เป็นอย่างดี
2. สภาพเศรษฐกิจที่ดีของสหรัฐฯ เอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของ TOYOTA
3. เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาสูงของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ สามารถดำเนินการผลิตรถยนต์ออกสู่ตลาดได้มาก
4. ญี่ปุ่นมีโอกาสที่ได้เข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ได้รับความไว้วางใจ
5.รสนิยมของคนในสหรัฐฯ ตรงกับ CONCEPT ของรถยนต์ที่ TOYOTA จะสามารถผลิตออกสู่ตลาดได้

อุปสรรค
TOYOTA เข้ามาดำเนินกิจการในสหรัฐฯ ไม่สามารถขยายกิจการได้เท่าที่ ควรจะเป็นเพราะต้องคอยหลีกกับปัญหาทางนโยบายของรัฐบาล

จากการที่เราวิเคราะห์ SWOT ของบริษัท TOYOTA MOTOR เราสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาตอบคำถามในกรณีศึกษาได้คือ
จงบอกพร้อมอธิบายถึงสาเหตุที่ TOYOTA เข้าไปลงทุนโดยตรงในสหรัฐฯ และเลือกที่จะเข้าไปผลิตรถยนต์ที่นั่นแทนการนำเข้าชิ้นส่วนเพื่อไปประกอบจากญี่ปุ่น
·   สาเหตุที่ TOYOTA เข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ โดยวิธีการลงทุนโดยตรงแทนการนำเข้าชิ้นส่วนเนื่องจาก
การเข้าไปลงทุนโดยตรงเพื่อผลิตรถยนต์ และจำหน่ายรถยนต์ในสหรัฐฯ ทำให้ไม่ต้องเสียค่าภาษีนำเข้า เพราะถ้า TOYOTA สั่งนำเข้าชิ้นส่วนไปผลิตที่ญี่ปุ่นก็ต้องเสียภาษีนำเข้าในประเทศตนเองที่นำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบ และเมื่อผลิตรถยนต์ส่งออกไปจำหน่ายที่ญี่ปุ่นก็ต้องเสียภาษีขาออก แล้วยังต้องไปเจอกำแพงภาษีในสหรัฐฯ อีกด้วย จึงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นถ้าจะทำการผลิตเองในญี่ปุ่น
เมื่อ TOYOTA เข้าไปดำเนินธุรกิจร่วมกับสหรัฐฯ ก็จะได้รับความเชื่อถือ และไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ จึงถือว่าเป็นการเปิดช่องทางให้กับธุรกิจอื่นๆที่สนใจเข้าไปร่วมลงทุนในสหรัฐฯ หรือชักชวนให้สหรัฐฯ เข้าไปร่วมทุนในประเทศญี่ปุ่นบ้างก็ได้
TOYOTA เข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก สำหรับการเปิดตลาดในญี่ปุ่น แต่เมื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แล้ว ก็จะสามารถสร้างกำไรได้อย่างมหาศาลแล้วนำกำไรนั้นกลับสู่บริษัทแม่ในญี่ปุ่นได้
การเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ ของ TOYOTA โดยการทำฐานการผลิตในสหรัฐฯเลยทำให้ TOYOTA สามารถทำการวิจัยตลาด หาข้อมูลจากลูกค้า และทราบถึงความต้องการ รสนิยมของลูกค้าที่เป็นชาวอเมริกันได้ง่ายกว่า
·    นอกจากเหตุผลดังกล่าวที่ TOYOTA เข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ จะได้ประโยชน์กับบริษัท TOYOTA เองแล้ว ทางประเทศเจ้าบ้านอย่างสหรัฐฯ ก็ได้ประโยชน์จากการเข้ามาลงทุนของ TOYOTA ด้วย จากประโยชน์เหล่านั้นเองที่สร้างโอกาสให้ TOYOTA เข้าไปลงทุนได้ง่าย
ผลกระทบที่สหรัฐฯ ได้รับจากการเข้ามาลงทุนของ TOYOTA
มีการจ้างงานของคนในประเทศมากขึ้น
การเข้ามาลงทุนโดยตรงของ TOYOTA ทำให้มีการไหลเข้าของกระแสเงิน
รัฐบาลสามารถเก็บภาษีจากการลงทุนได้มากขึ้นทำให้มีรายได้เข้าสู่รัฐ
ทำให้ตลาดในสหรัฐฯ มีสินค้า ( รถยนต์ ) ให้ลูกค้าได้เลือกมากขึ้น
2 . เพราะเหตุใด TOYOTA จึงประสบความสำเร็จในสหรัฐฯ จงอธิบาย
การประสบความสำเร็จของ TOYOTA นั้นได้มาจาก การดำเนินงานที่เป็นระบบ และการจัดทำกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตลาดเป้าหมาย
กลยุทธ์ระหว่างประเทศ
TOYOTA เลือกวิธีที่จะเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ด้วยวิธีการเข้าไปลงทุนโดยตรง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วจากคำถามข้อ 1
กลยุทธ์การเจาะตลาด
TOYOTA ดำเนินการเข้าสู่ตลาดในสหรัฐฯ ดังนี้

TOYOTA แสดงบทบาทว่าตนเป็นพลเมืองดี ไม่ใช่กิจการที่จะเข้าไปช่วงชิงตลาดกับผู้ผลิตในท้องถิ่น
ผู้บริหารระดับสูงของ TOYOTA มีนโยบายประนีประนอมเพื่อประโยชน์ของสหรัฐฯ เช่น การเข้าไปตั้งโรงงานในสหรัฐฯ เพื่อผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ให้มากขึ้น และเพื่อสร้างการจ้างงานที่สูงขึ้น
TOYOTA มีนโยบายที่จะปรับปรุงและพัฒนารูปแบบรถยนต์ให้มีคุณลักษณะเป็นแบบอเมริกันมากขึ้น

โตโยต้า (Toyota )
ประวัติโตโยต้า (History Toyota )
·         ก่อตั้งโดย Kiichiro Toyoda
·         โดยพัฒนามาจาก Toyoda Automatic Loom Works ในปี 1937
·         ออกตัวรถยนต์คันแรกในปี 1947
·         ศึกษาจากฟอร์ด และนำมาปรับปรุงระบบการผลิตในช่วงปลายปีทศวรรษที่ 50
·         ระบบการผลิตที่ได้รับการปรับปรุงนี้ต่อมาถูกรู้จักกันในนามของ “Toyota Production System - TPS” ซึ่งถูกพัฒนาโดย TaiichiOhno
·         เริ่มผลิตนอกประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก โดยตั้งโรงงานขนาดเล็กในประเทศบราซิล ในปี 1959
·         ปัจจุบัน โตโยต้าเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (จำนวนคัน)
·         โตโยต้าผลิตรถยนต์ได้ 4.5 ล้านคันต่อปี ซึ่งเท่ากับว่าสามารถผลิตรถยนต์ 1 คันได้ในทุก ๆ 6 วินาที
บุคคลหลัก ๆ ในยุคต้นของโตโยต้า
o    Sakichi Toyoda พ่อ - ผู้ประดิษฐ์เครื่องทอผ้าที่ “ป้องกันความผิดพลาดได้” (Error Proofing - Jidoka)
o    Kiichiro Toyodaลูกชาย > ขายสิทธิบัตรเครื่องทอผ้า และนำเงินมาตั้ง Toyota Motor Corp. ได้สร้างระบบ JITจากการเยี่ยมชมโรงงาน Ford และเห็นระบบ Supermarket ซึ่งนำมาสู่วิสัยทัศน์ของระบบ Kanban
o    Eiji Toyodaหลานชาย >ต่อมาเป็นประธาน Toyota Motor Mfg. และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อ Toyota Production System (TPS) เยี่ยมชมการผลิตแบบ Mass ของโรงงานในสหรัฐอเมริกา และศึกษาหนังสือของ Henry Ford ชื่อ Today and Tomorrow
o    Taiichi Ohno วิศวกร > ได้รับมอบหมายจาก Eiji ปรับปรุงกระบวนการผลิตของ Toyota ให้ทัดเทียม Ford ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้สร้างระบบ TPS พัฒนาระบบไหลทีละชิ้น (One-Piece Flow) และเป็นบิดาแห่ง Kanban

เกี่ยวกับผู้เรียบเรียง

นักการตลาดกากๆคนหนึ่ง

ผู้ที่ชอบสังเกตุเรื่องราวต่างๆ แล้วมารวมแนวคิด กลั่นมันออกมา

แสดงความคิดเห็น

 
MBA Marketing © 2015