วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ใน วารสารวิจัยราชภัฏชัยภูมิ


วารสารวิจัยราชภัฏชัยภูมิ Chaiyaphum Rajabhat Research Journal

คำแนะการเตรียมต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์วารสารวิจัยราชภัฏชัยภูมิ

กองบรรณาธิการได้กำหนดคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับไว้ให้ผู้เขียนยึดเป็นแนวทางในการส่งต้นฉบับสาหรับการตีพิมพ์ลงวารสารวิจัยราชภัฏชัยภูมิ และกองบรรณาธิการสามารถตรวจสอบต้นฉบับก่อนการตีพิมพ์ เพื่อให้วารสารมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงได้

วิธีการเตรียมต้นฉบับ

1. ต้นฉบับ พิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ องค์ประกอบต่าง ๆ ของบทความให้จัดตามคำแนะนาการเตรียมต้นฉบับนี้ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปนภาษาไทยโดยไม่จำเป็น กรณีจำเป็นให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยวงเล็บภาษาอังกฤษโดยคำแรกให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนอักษรและคำที่เหลือทั้งหมดให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นชื่อเฉพาะทุกคำให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ คำศัพท์คำเดียวกันที่เป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษหากปรากฏในหลายที่ให้ใช้คำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยภาษาอังกฤษเฉพาะครั้งแรก ครั้งต่อไปใช้เฉพาะคำศัพท์ภาษาไทยเท่านั้น บทความนิพนธ์ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาก่อน
2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft word โดยจัดหน้ากระดาษ ขนาด A4 (8.5 x 11 นิ้ว)
ตั้งค่าหน้ากระดาษสาหรับการพิมพ์ห่างจากขอบกระดาษด้านบนและซ้าย ด้านละ 2 นิ้ว ด้านขวาและล่าง ด้านละ 1.25 นิ้ว จัดคอลัมน์เดียว ใส่เลขหน้าด้านบนขวากากับทุกหน้า
3. รูปแบบตัวอักษร ใช้ตัวอักษรแบบ TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ขนาดตัวอักษรอย่างเดียวกัน ดังนี้ ชื่อเรื่อง ขนาด 18 pt. ชื่อผู้เขียนและหัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา เนื้อความทุกส่วนใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นชื่อตำแหน่งทางวิชาการของผู้นิพนธ์และที่อยู่ ใช้ตัวอักษรขนาด 12 pt. ตัวปกติ ตัวเลขที่ใช้ให้เป็นเลขอารบิก
4. จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่เกิน 12 หน้า รวมตาราง รูปภาพและเอกสารอ้างอิง
5. ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ และกราฟ ให้แทรกไว้ในเนื้อเรื่อง โดยผู้เขียนคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
เรียงลำดับให้สอดคล้องกับเนื้อหา ชื่อตารางให้อยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อรูปภาพ แผนภูมิและกราฟให้อยู่ด้านล่างพร้อมทั้งคำอธิบายสั้น ๆ ที่สื่อความหมายได้ครบถ้วน
6. ประเภทของต้นฉบับ
6.1 บทความวิจัย (Research article) เป็นการนำเสนอผลการวิจัยอาจเป็น Concept paper หรือผลงานวิจัยที่สำเร็จสมบูรณ์แล้วซึ่งผู้เขียนได้ดาเนินการด้วยตัวเอง
6.1.1 ส่วนประกอบตอนต้น
1) ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด แสดงเป้าหมายของการวิจัย ให้เขียนชื่อภาษาไทยก่อนใต้มาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ให้พิมพ์ด้วยตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ กรณีระบุชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาไทยให้ใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย
2) ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วม (Authors and co-authors) ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อและนามสกุล ถ้ามีผู้วิจัยหลายคนให้ใช้หมายเลขอ้างอิงเชิงอรรถกำกับตามลำดับพร้อมระบุชื่อหน่วยงานของผู้วิจัยในส่วนล่างของหน้าแรก (กรณีเป็นนักศึกษาให้ระบุระดับการศึกษา สาขาวิชาและสถาบันการศึกษา)
3) บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) ความยาวไม่เกินอย่างละ 300 คำ เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้นได้เนื้อหาสาระครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ควรเขียนแบบสั้น ตรงประเด็น ระบุเฉพาะสาระสำคัญเท่านั้น โดยให้ลาดับบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
4) คำสำคัญ (Keywords) ให้ใช้คำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นคำที่บอกวิธีการวิจัยประเด็นที่วิจัย ผลการวิจัย สาขาวิชาที่ทาวิจัย การใช้ประโยชน์หรือสถานที่ที่ทาวิจัย คำสำคัญให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษแต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ โดยระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา
6.1.2 เนื้อหาในบทความวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และอื่น ๆ ให้มีองค์ประกอบดังนี้
1) บทนา (Introduction) ระบุความเป็นมาและความสาคัญของการทาวิจัย เหตุผลการทาวิจัย เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์การวิจัย
2) วิธีดาเนินการวิจัย (Materials and methods) ระบุชื่อ ชนิด ประเภท จำนวนตลอดทั้งลักษณะเฉพาะของสิ่งที่นามาศึกษา อธิบายวิธีการวิจัย แผนการทดลองทางสถิติ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ทางสถิติและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
3) ผลการวิจัย (Research Results) รายงานผลการวิจัยให้ได้ใจความ ชัดเจนและตรงประเด็น
โดยยึดแนวทางตามวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นหลัก ควรอธิบายผลการวิจัยด้วยคำบรรยายเป็นหลัก ถ้ามีตัวแปรที่ศึกษาหรือตัวเลขมากให้นาเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง แผนภูมิและกราฟ แทรกในเนื้อหาพร้อมทั้งอธิบายผลการวิจัยให้ได้สาระครบถ้วนอย่างสั้น ๆ
4) การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการแสดงความเห็นว่าผลการวิจัยสอดคล้องหรือแตกต่างจากวัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้หรือผลงานวิจัยที่มีผู้รายงานไว้ก่อนอย่างไร เป็นเพราะเหตุผลใด มีหลักฐานทางทฤษฎีหรือผลงานวิจัยอะไรสนับสนุน
5) ข้อเสนอแนะ (Proposition) เป็นการให้การเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์และประเด็นที่เป็นแนวทางการทำวิจัยต่อไป
6) เอกสารอ้างอิง (References) ให้ระบุเฉพาะที่ได้นำมาอ้างอิงในบทความวิจัยอย่างครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิงแบบ APA citation style
6.1.3 เนื้อหาในบทความวิจัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ ครุศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ บัญชีและอื่น ๆ ให้มีองค์ประกอบดังนี้
1) บทนำ/ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Introduction) อธิบายถึงภูมิหลังความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยรวมทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเหตุผลของการทำวิจัย
2) วัตถุประสงค์การวิจัย (Objectives) เป็นความเรียงเฉพาะประเด็นสำคัญของวัตถุประสงค์การวิจัยที่ครอบคลุมแนวทางการทำวิจัยทั้งหมด
3) สมมติฐานการวิจัย (Hypothesis) (ถ้ามี) เป็นความเรียงสมมติฐานเชิงพรรณนาหรือระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา
4) ขอบเขตการวิจัย (Scope) กำหนดกรอบความคิดการวิจัย เป็นกรอบที่เป็นแนวทางการทำวิจัยด้านเนื้อหาสาระ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวนตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง ตัวแปรและความสัมพันธ์ของตัวแปร พื้นที่และระยะเวลาการทำวิจัย
5) วิธีดาเนินการวิจัย (Research methodology) ระบุแผนการวิจัย เช่น การสำรวจ การศึกษาเอกสาร การทดลอง และอื่น ๆ
6) เครื่องมือการวิจัย (Research Tools) ชนิดของเครื่องมือ วิธีสร้าง การทดลองใช้ และการปรับปรุงเครื่องมือการวิจัย
7) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและระยะเวลาการรวบรวมข้อมูล
8) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
9) ผลการวิจัย (Research Results) รายงานผลการวิจัยเฉพาะใจความสำคัญ ชัดเจน และตรงประเด็นจากผลการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ในการวิจัย โดยยึดแนวทางตามวัตถุประสงค์การวิจัย ควรอธิบายผลการวิจัยด้วยคำบรรยายเป็นหลัก ถ้ามีตัวแปรที่ศึกษาหรือตัวเลขมากให้นาเสนอเป็นรูปภาพ ตาราง แผนภูมิและกราฟ แทรกในเนื้อหาพร้อมทั้งอธิบายผลการวิจัยให้ได้สาระครบถ้วนอย่างสั้น ๆ
10) การอภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการแสดงความเห็นว่าผลการวิจัยสอดคล้องหรือแตกต่างจากวัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้หรือผลงานวิจัยที่มีผู้รายงานไว้ก่อนอย่างไร เป็นเพราะเหตุผลใด มีหลักฐานทางทฤษฏีหรือผลการวิจัยอะไรสนับสนุน
11) ข้อเสนอแนะ (Proposition) นำเสนอผลการวิจัยที่เด่นชัดสมควรนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรและแนวทางการทำวิจัยต่อไป
12) เอกสารอ้างอิง (References) ให้ระบุเฉพาะที่ได้นำมาอ้างอิงในบทความวิจัยอย่างครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิงแบบ APA citation style
6.2 บทความทางวิชาการ (Review article) เป็นบทความที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร งานแปล และผลงานจากประสบการณ์ของผู้เขียนหรือถ่ายทอดจากผู้อื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ องค์ความรู้ การเสนอความคิดเห็นที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ทางวิชาการของสาขาต่างๆ
6.2.1 ส่วนประกอบตอนต้น
1) ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด และแสดงเป้าหมายของบทความ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร ให้เขียนชื่อภาษาไทยก่อนใต้มาเป็นภาษาอังกฤษ โดยภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรก ยกเว้น Article และ Preposition ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ให้พิมพ์ด้วยตัวเอนไม่ต้องขีดเส้นใต้ กรณีระบุชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตเป็นภาษาไทยให้ใส่ชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย
2) ชื่อผู้เขียนและผู้เขียนร่วม (Authors and co-authors) ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สาหรับภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อและนามสกุล ถ้ามีผู้เขียนหลายคนให้ใช้หมายเลขอ้างอิงเชิงอรรถกำกับตามลาดับพร้อมระบุชื่อหน่วยงานของผู้เขียนในส่วนล่างของหน้าแรก (กรณีเป็นนักศึกษาให้ระบุระดับการศึกษา สาขาวิชาและสถาบันการศึกษา)
3) สาระสังเขป (Summary) เป็นการสังเคราะห์เนื้อหาบทความทั้งเรื่องให้สั้น ได้เนื้อหาครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยความยาวไม่เกินอย่างละ 300 คำ
4) คำสำคัญ (Keywords) ให้ใช้คำที่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องซึ่งเป็นคำที่บอกวิธีการศึกษา ผลการศึกษา สาขา การใช้ประโยชน์หรือสถานที่ที่ทาการศึกษา คำสำคัญให้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษแต่ละชุดไม่เกิน 5 คำ
6.2.2 เนื้อหาในบทความวิชาการ ให้มีองค์ประกอบดังนี้
1) บทนำ (Introduction) ระบุความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอก่อนเข้าสู่เนื้อหา
2) เนื้อความ (Content) ควรนาเสนอพัฒนาการของเรื่องได้อย่างน่าสนใจและเนื้อเรื่องนั้นเป็นเนื้อหาใหม่เหมาะสมสภาพปัจจุบัน
3) สรุป (Conclusion) เป็นการย่อเฉพาะข้อมูลจากเนื้อความให้สั้น ได้เนื้อหาสาระของเนื้อความครบถ้วน
4) เอกสารอ้างอิง (References) ให้ระบุเฉพาะเอกสารที่ผู้เขียนได้นำมาอ้างอิงในบทความวิชาการอย่างครบถ้วน โดยใช้ระบบการอ้างอิงแบบ APA citation style (ดูรายละเอียดและตัวอย่างในเนื้อความและการอ้างอิงท้ายเล่ม และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://research.cpru.ac.th/
7. การอ้างอิงในเนื้อความ
การอ้างอิงในเนื้อความเป็นการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อความ ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี (Author date in text citation) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และหน้าที่อ้างอิงเอกสารไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้างอิง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น ดังนี้
7.1 การอ้างอิงชื่อบุคคล คนไทยให้ลงชื่อตัวและนามสกุล ส่วนชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล

ตัวอย่างการอ้างอิง

ผู้แต่ง 1 คน
(สมชาย หมายปอง. 2550 : 10)
(Maipong. 2007 : 10)
ผู้แต่ง 2 คน
(สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม. 2545 : 66)
(Chanaim and Chanaim. 2002 : 66)
ผู้แต่ง 3 คน ให้ใส่ชื่อทุกคน
(สุจริต เพียรชอบ,สายใจ อินทรัมพรรย์ และสายใจ สุวรรณธาดา. 2548 : 5)
(Pianchoop, Intranphan and Suwanthada. 2005 : 5)
ผู้แต่ง มากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อเฉพาะคนแรก ตามด้วยและคณะ
(สุวกิจ ศรีปัดถา และคณะ. 2550 : 145)
(Sripathar. et al. 2007 : 145)
7.2 ชื่อนิติบุคคล หน่วยงาน องค์กร ที่ทาเอกสาร ให้ระบุชื่อหน่วยงานตามที่ปรากฏ
ตัวอย่างการอ้างอิง
(สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. 2549 : บทคัดย่อ)
(Thai Environment Institute. 2006 : abstract)
7.3 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงส่วนท้ายเล่ม โดยรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ ผู้เขียนได้ใช้อ้างอิงในเนื้อความ พร้อมจัดเรียงเอกสารตามลาดับอักษรตามลาดับอักษรของผู้แต่ง และให้ใช้การอ้างอิงแบบ APA (American psychological association citation style) ดังนี้
หนังสือ (Book)
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
บทความจากองค์กรหรือหน่วยงาน
ชื่อองค์กร/หน่วยงาน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. สถานที่พิมพ์.
วิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง. (..). ชื่อเรื่อง . วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ สาขา มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).
บทความจากหนังสือที่มีผู้เขียนเฉพาะบท (Book article or chapter)
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ/บท/ตอน. ใน ชื่อบรรณาธิการ, ชื่อหนังสือ (หน้า).
สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.
บทความจากวารสารหรือนิตยสาร (Journal or magazine article)
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่ (ฉบับที่), หน้า.
บทความจากหนังสือพิมพ์ (Newspaper article)
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์//). ชื่อบทความ. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้าซึ่งปรากฏบทความ.
บทความจากฐานข้อมูลอินเตอร์เน็ต (Article from an internet database)
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่, ฉบับที่. วันที่ทำการสืบค้น.
จากแหล่งข้อมูล/สารนิเทศ.
บทความจากสารานุกรม ( Encyclopedia article)
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ใน สารานุกรม (เล่มที่,หน้า). สถานที่พิมพ์ :
สำนักพิมพ์.
เอกสารจากฐานข้อมูล CD-ROM (CD-Document)
ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ : ชื่อหนังสือ. (จากแหล่งข้อมูล CD-Document เลขที่)
เว็บไซต์ (Website)
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่เผยแพร่สารนิเทศบนอินเตอร์เน็ต). ชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ, วันที่ทำการสืบค้น.
จาก URL
8. การส่งต้นฉบับ ให้นำส่งต้นฉบับที่พิมพ์หน้าเดียว 2 ชุด และบันทึกลงในแผ่นซีดี 1 ชุด พร้อมระบุชื่อบทความและผู้นิพนธ์ไว้บนแผ่นซีดีด้วย โดยนำส่งด้วยตัวเองหรือทางไปรษณีย์ ที่
กองบรรณาธิการวารสารวิจัยราชภัฏชัยภูมิ
สำนักวิจัยเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 36000
โทรศัพท์ 081-0530570 (ดร.ศิวัช ศรีโภคางกุล) โทรสาร 044-815116
Email : research.cpru@gmail.com
9. ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยราชภัฏชัยภูมิ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ห้ามนาข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปตีพิมพ์ซ้ำเว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร

10. ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์

เกี่ยวกับผู้เรียบเรียง

นักการตลาดกากๆคนหนึ่ง

ผู้ที่ชอบสังเกตุเรื่องราวต่างๆ แล้วมารวมแนวคิด กลั่นมันออกมา

แสดงความคิดเห็น

 
MBA Marketing © 2015