วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การตีพิมพ์บทความ วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร

(RMUTP RESEARCH JOURNAL)

ข้อกำหนดวารสาร

     วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร เป็นวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยและผลงานวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre, TCI Centre) โดยผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และจะได้รับคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป และได้รับการจัดระดับคุณภาพวารสารวิชาการภายในประเทศ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. ลักษณะของบทความที่ตีพิมพ์
  1. บทความที่รับตีพิมพ์เป็นบทความสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น
  2. รับตีพิมพ์บทความทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ
  3. การเสนอต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์ ผู้เขียนต้องไม่เสนอบทความฉบับเดียวกันกับที่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน  เว้นแต่ผ่านการเรียบเรียงใหม่
  4. ต้นฉบับรับทั้งเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. กำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่  ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ฉบับเดือนมีนาคม และฉบับเดือนกันยายน
3. การส่งต้นฉบับ
ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับบทความเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ได้ ดังนี้
    1. ส่งด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์  โดยส่งต้นฉบับจำนวน 3 ชุด พร้อม CD 1 แผ่น
        ที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
        399 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
     2. ส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ e-mail : j_rmutp@rmutp.ac.th
4. ลิขสิทธิ์
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ห้ามนำข้อความทั้งหมดไปตีพิมพ์ซ้ำ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร
5. ความรับผิดชอบ
เนื้อหาและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น

คำแนะนำการเขียนต้นฉบับ

วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร เป็นวารสารระดับชาติซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยและผลงานวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
ประเภทของบทความที่ตีพิมพ์
1.1  บทความวิจัย (Research article)  เป็นบทความที่ได้จากงานวิจัย
1.2  บทความวิชาการ (Academic article) เป็นบทความที่มีลักษณะดังนี้
          1. Literature review  เป็นบทความจากการทบทวนเอกสาร  ซึ่งเป็นผลมาจากการวิจัยหลายๆ ครั้งถือเป็นบทความที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
2. Technical paper  เป็นบทความนำเสนอกระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบภาคสนาม  รวมไปถึงเทคนิคการวิเคราะห์ใหม่ๆ
3. Professional practice  เป็นบทความที่มาจากประสบการณ์  หรือความชำนาญของผู้เขียน
4. Policy paper  เป็นบทความเกี่ยวกับนโยบายด้านต่างๆ ของหน่วยงาน
ส่วนประกอบของบทความแต่ละประเภท
2.1 บทความวิจัย
ก.   ส่วนปก  ประกอบด้วย
1.  ชื่อบทความ (Title)  ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้นกะทัดรัด ชี้ถึงเป้าหมายหลักของการวิจัย
2. ชื่อผู้เขียนทุกท่าน  (Authors)  ให้ระบุเฉพาะชื่อ และ นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม
3. ตำแหน่งทางวิชาการ  และที่อยู่  สำหรับการติดต่อทางไปรษณีย์  ของผู้เขียนทุกท่าน
4. ตัวเลขยก  ให้เขียนไว้บนนามสกุล เพื่อระบุว่าเป็นตำแน่งทางวิชาการและที่อยู่ของผู้เขียนท่านใด
5. บทคัดย่อ  (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ควรสั้นตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลและวิจารณ์ เป็นต้น
6. คำสำคัญ  (Keywords)  ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  เป็นการกำหนดคำสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูล
7. ผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ทำเครื่องหมาย * ไว้บนนามสกุล
และระบุหมายเลขโทรศัพท์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  (e-mail)
            ***  หมายเหตุ  เนื้อหาส่วนปกจะต้องเขียนให้อยู่ในกระดาษ จำนวน 1 หน้าเท่านั้น      
ข.  ส่วนเนื้อหา  ประกอบด้วย
          1. บทนำ  (Introduction)  เป็นส่วนของความสำคัญและมูลเหตุที่นำไปสู่การวิจัย พร้อมวัตถุประสงค์และการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง
          2. วิธีการทดลอง  (Materials and Methods) หรือ วิธีการศึกษา  (Research Methodology) เป็นการอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับการวิจัยแต่ละประเภท
          3.  ผลการทดลองและวิจารณ์ผล  หรือ  ผลการศึกษาและอภิปรายผล  (Results and Discussion)  ควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น เป็นผลที่ค้นพบโดยลำดับตามหัวข้อที่ศึกษาพร้อมการวิจารณ์ผล
4. สรุป  (Conclusion) สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา
          5. กิตติกรรมประกาศ  (Acknowledgements)  เป็นการระบุแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย
          6. เอกสารอ้างอิง  (References)  ต้องใช้ตามแบบที่วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร
กำหนดอย่างเคร่งครัดและเขียนเอกสารอ้างอิง เฉพาะเอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อหาเท่านั้น
2.2  บทความวิชาการ
ก. ส่วนปก มีส่วนประกอบเหมือนบทความวิจัย  และเขียนให้อยู่ในกระดาษจำนวน 1 หน้าเท่านั้น
ข.  ส่วนเนื้อหา  ประกอบด้วย
          1. บทนำ  (Introduction)  เป็นส่วนของที่มาและมูลเหตุของการเขียนบทความ
2. ผลการศึกษา/ผลการดำเนินการ (Results)  เป็นการเสนอผลอย่างชัดเจน ตามประเด็นโดยลำดับ
ตามหัวข้อที่ศึกษาหรือดำเนินการ
3. สรุป  (Conclusion) สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา
4. เอกสารอ้างอิง  (References) ใช้รูปแบบที่วารสารฯ กำหนดอย่างเคร่งครัดและเขียนอ้างอิงเฉพาะเอกสารที่ปรากฏในบทความเท่านั้น

หลักเกณฑ์การประเมินบทความ

กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข  ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ประเมินจากภายนอก เมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไขจะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับวารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ผลงาน จำนวน 2 ฉบับและพร้อมหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความ

เกี่ยวกับผู้เรียบเรียง

นักการตลาดกากๆคนหนึ่ง

ผู้ที่ชอบสังเกตุเรื่องราวต่างๆ แล้วมารวมแนวคิด กลั่นมันออกมา

แสดงความคิดเห็น

 
MBA Marketing © 2015