วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร “วารสารบัณฑิตวิจัย” บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หลักเกณฑ์ การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการจัดทำวารสารวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งกำหนดที่จะจัดทำปีละ ๒ ฉบับต่อปี ฉบับที่ ๑ เดือน มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ ๒ เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม โดยมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และเพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้นำเสนอผลงานด้วยการตีพิมพ์ เผยแพร่งานวิจัย วิทยานิพนธ์และบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในวารสารบัณฑิตวิจัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นผู้จัดทำขึ้น โดยมี ศาสตราจารย์/ผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขานั้นๆ ร่วมกันพิจารณาผลงานที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อให้การนำเสนอบทความมีกรอบและทิศทางเดียวกัน บรรณาธิการจึงได้กำหนดขั้นตอนและรูปแบบของการส่งบทความให้กับนักวิจัยและผู้ที่สนใจดังนี้
. ขั้นตอนการดำเนินการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย

.๑ พิมพ์บทความตามรูปแบบที่วารสารวิชาการบัณฑิตวิจัยกำหนด
.๒ การจัดส่งบทความ
..๑ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปที่ E-mail Address: graduatejournal@cmru.ac.th
..๒ ทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง
กองบรรณาธิการวารสารบัณฑิตวิจัย
สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น ๑๓ อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ ๒๐๒ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๓๐๐
โดยทางกองบรรณาธิการจะดำเนินการจัดส่งบทความของท่านให้กรรมการพิจารณาคุณภาพและคัดเลือกบทความ (Peer Reviewers) ประเมินเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย
..๓ กำหนดการรับพิจารณาบทความ
กำหนดการรับบทความวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ และบทความวิจัย ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๖)
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๖
.๓ กำหนดให้กรรมการประเมินคุณภาพบทความ ดำเนินการประเมินคุณภาพบทความประมาณ ๓๐ วัน เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วทางกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการประเมิน เป็นลายลักษณ์อักษรภายใน ๗ วัน
.๔ หากต้องมีการแก้ไขปรับปรุง (ถ้ามี) เอกสารตามที่คณะกรรมการพิจารณาคุณภาพและคัดเลือกบทความเสนอแนะ ให้ผู้เขียนบทความต้องดำเนินการแก้ไขและส่งกลับมายังกองบรรณาธิการภายใน ๑๕ วัน จึงจะได้รับการพิจารณาลงในวารสารหากผู้ส่งบทความไม่ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ทางกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ให้กับบุคคลที่แก้ไขแล้วเท่านั้น
.๕ กองบรรณาธิการจัดส่งบทความที่แก้ไขปรับปรุงให้ผู้ประเมินคุณภาพบทความตรวจสอบอีกครั้ง (ถ้ามี) โดยใช้เวลาไม่เกิน ๒๐ วัน
.๖ กองบรรณาธิการแจ้งผลการได้รับพิจารณา/ไม่ได้รับพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสาร ให้แก่เจ้าของบทความทราบเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีได้รับพิจารณาให้ตีพิมพ์กองบรรณาธิการจะออกหนังสือรับรองให้แก่เจ้าของบทความ ตามที่อยู่ที่ผู้ส่งบทความแจ้งให้แก่กองบรรณาธิการ
.๗ เมื่อดำเนินการครบทุกบทความตามจานวนที่กำหนด (ไม่เกิน ๒๐ บทความ ต่อ ๑ ฉบับ) กองบรรณาธิการจะดำเนินการตีพิมพ์เล่มวารสารเพื่อเผยแพร่ และนำเผยแพร่เป็นวารสารวิชาการฉบับออนไลน์บนเวปไซด์ของบัณฑิตวิทยาลัย
.๘ กองบรรณาธิการดำเนินการประสานงานเพื่อประชาสัมพันธ์การส่งบทความ ในวงรอบถัดไป
.๙ บทความที่เสนอ ต้องไม่เคยได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในที่อื่นมาก่อนและหากบทความที่เสนอได้รับการตอบรับให้จัดพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย ผู้เสนอบทความต้องรับรองว่าจะไม่นำบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ที่อื่นอีก (เว้นแต่จะได้รับความยินยอมที่เป็นหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) และหากเกิดความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น ผู้เสนอบทความยินดีรับผิดชอบความเสียหายนั้น
.๑๐ ต้องเป็นบทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาด้านสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
.๑๑ บัณฑิตวิทยาลัย จะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
.๑๒ สำหรับบุคคลภายนอก ค่าลงทะเบียน บทความละ ๑,๐๐๐ บาท บัณฑิตวิทยาลัย ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าลงทะเบียนให้ในทุกกรณีรวมทั้งกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ประเมินบทความและให้ความเห็นว่าไม่สมควรเผยแพร่ในวารสารบัณฑิตวิจัย
อนึ่งการส่งบทความสามารถดำเนินการส่งได้ตามที่แจ้งประกาศ กองบรรณาธิการจะดำเนินการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับตามที่กำหนดในวาระ และเมื่อดำเนินการครบตามกระบวนการประเมินคุณภาพบทความและได้รับคัดเลือกให้ตีพิมพ์ ทางกองบรรณาธิการจะทำเอกสารตอบรับการตีพิมพ์ให้แก่ผู้ส่งบทความ ตามลำดับ
. รูปแบบการเขียนบทความและการเตรียมต้นฉบับวารสาร
กองบรรณาธิการจะรับพิจารณากลั่นกรองเฉพาะต้นฉบับที่เป็นไปตามข้อกำหนดนี้เท่านั้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
.๑ ต้นฉบับ เป็นต้นฉบับพิมพ์ใช้ภาษาไทยล้วน หรือภาษาอังกฤษล้วนก็ได้ ใช้ภาษาวิชาการที่ถูกต้องตามหลักภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับภาษาไทยให้ใช้คำศัพท์และศัพท์บัญญัติตามที่ระบุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (สามารถค้นหาได้ที่ www.royin.go.th) พิมพ์แบบสองหน้าบนกระดาษ A4 ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit จัดเป็น ๒ คอลัมน์ กำหนดความกว้างข้องคอลัมน์ประมาณ ๒.๙๘ นิ้ว ระยะห่างระหว่างคอลัมน์ ๐.๒๕ นิ้ว บทความมีความยาวระหว่าง ๑๐ ถึง ๑๕ หน้าโดยเว้นระยะขอบเพื่อการเย็บเล่มหนังสือดังต่อไปนี้
ระยะขอบเพื่อการเย็บเล่ม
ระยะขอบบน ๑ นิ้ว (.๒๕ นิ้วเฉพาะหน้าแรก)
ระยะขอบล่าง ๐.๘ นิ้ว
ระยะขอบภายใน ๑.๒๕ นิ้ว
ระยะขอบภายนอก ๐.๘ นิ้ว
.๒ ชื่อเรื่อง กระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใช้ตัวอักษรหนา ขนาด ๒๐ พอยต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
.๓ ชื่อผู้เขียน ใช้ชื่อเต็ม ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อเขียนไว้ด้านขวาสุด พร้อมใส่เครื่องหมาย 1 หรือ 2 ตามจานวนผู้เขียนไว้ท้ายชื่อ ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด ๑๔ พอยต์ และใส่รายละเอียดในเชิงอรรถ ให้ระบุสถานะของผู้เขียน ตำแหน่งทางวิชาการ(ถ้ามี) สถานที่ติดต่อ และอีเมล์แอดเดรส (E-mail address)ของผู้เขียนทุกคน ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด ๑๐ พอยต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาหลักและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) ให้เขียนไว้ในลำดับต่อจากชื่อผู้วิจัยโดยมีขนาดตัวอักษร และเครื่องหมายเชิงอรรถ เช่นเดียวกันกับผู้วิจัย
.๔ บทคัดย่อ (ABSTRACT) ใช้ภาษาอังกฤษความยาวไม่เกิน ๓๐๐ คำ จัดเป็น ๑ คอลัมน์ ภาษาไทยความยาวไม่เกิน ๕๐๐ คำ จัดเป็น ๑ คอลัมน์ ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด ๑๔ พอยต์ โดยพยายามใช้สำนวนกระชับ ชัดเจน ที่สุด ส่วนที่เป็นชื่อหัวข้อบทคัดย่อ” “ABSTRACT” ให้พิมพ์เป็นตัวหนา
.๕ คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจานวนไม่เกิน ๕ คำ ใช้ตัวอักษรขนาด ๑๔ พอยต์ปกติและระบุไว้ท้ายบทคัดย่อ ส่วนที่เป็นชื่อหัวข้อคำสำคัญ” “Keywords” ให้พิมพ์เป็นตัวหนา
.๖ เนื้อหา เนื้อหางานวิจัย ใช้ตัวอักษรขนาด ๑๔ พอยต์ปกติ ให้จัดเป็น ๒ คอลัมน์ เฉพาะส่วนที่เป็นหัวข้อให้พิมพ์เป็นตัวหนาชิดซ้ายขอบกระดาษ ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
) บทนำ
) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
) สมมุติฐานในการวิจัย
) วิธีการดำเนินการวิจัย
) ผลการวิจัย
) บทสรุป
๗ อภิปรายผล
) ข้อเสนอแนะ
.๗ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ หรืออื่นๆ ที่มีขนาดเล็กสามารถแทรกในเนื้อหาที่จัดเป็น ๒ คอลัมน์ได้ ยกเว้น ตาราง รูปภาพขนาดใหญ่ หรือแผนภูมิขนาดใหญ่ให้จัดเป็น ๑ คอลัมน์ (ตามตัวอย่าง)
.๘ เอกสารอ้างอิง การอ้างอิงภายในเนื้อเรื่องและภายใต้หัวข้อเอกสารอ้างอิงต้องตรงกันและให้ใช้ระบบอ้างอิงมาตรฐานเอพีเอ (APA Style) จัดเป็น ๑ คอลัมน์ แนะนำให้ใช้ฟังก์ชั่นข้อมูลอ้างอิงและบรรณานุกรมอัตโนมัติของ Microsoft Office word ๒๐๐๗ (หรือรุ่นที่สูงกว่า) จะช่วยให้งานง่ายขึ้น

การประเมินบทความวิจัยเพื่อพิจารณาคุณภาพและคัดเลือกบทความ
เพื่อตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
การพิจารณาบทความ
บทความวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ และบทความวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องผ่านการพิจารณา ตรวจสอบ และคัดเลือก จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewers) ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ก่อนจัดพิมพ์เผยแพร่ ในการดำเนินการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในรูปแบบกองบรรณาธิการที่ประกอบด้วยบุคลากรทางวิชาการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แบ่งตามกลุ่มสาขาวิชา
การยอมรับบทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารเป็นสิทธิของกองบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบ ในเนื้อหา หรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ และอาจส่งเรื่องคืนมายังผู้เขียนให้เพิ่มเติมหรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี
การประเมินบทความวิจัย
เพื่อช่วยให้ผู้เสนอบทความวิจัย เขียนบทความวิจัยในแนวทางเดียวกับกรรมการพิจารณาคุณภาพและคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร จึงขอให้ผู้เสนอบทความวิจัย เขียนบทความวิจัย ให้ชัดเจน สอดคล้อง ครอบคลุมประเด็นในการพิจารณา ดังนี้
. ความชัดเจนของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย หมายถึง มีการอธิบายถึงที่มาและขอบเขตของปัญหา ระบุความเกี่ยวข้องระหว่างตัวแปรหรือกรอบความคิดของงานวิจัย มีการกำหนดจุดมุ่งหมายสอดคล้องกับปัญหาการวิจัย
. การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้เขียนในแง่การประมวลความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี การวิเคราะห์และสรุปรายงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กาลังศึกษา และเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เหล่านั้นกับงานวิจัยปัจจุบัน เพื่อทำให้ปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนเป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐาน การวางแผนและการออกแบบการวิจัย
. วิธีการดำเนินการวิจัย เกณฑ์การประเมิน จะพิจารณาว่าแบบการวิจัย (Form Research) ว่ามีการออกแบบครบถ้วนทั้ง Sampling Design, Measurement Design, และ Analytical Design หรือไม่ เพียงไร รวมทั้ง พิจารณาการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับระดับของตัวแปร และที่สำคัญ คืออธิบายถึงวิธีปัญหาวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมทั้งการทดสอบสมมติฐาน (ถ้ามี) ไว้อย่างครบถ้วนหรือไม่
. การสรุปผลและการอภิปรายผล จะพิจารณาในแง่ความเหมาะสมของค่าสรุป คือ สรุปบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย การอภิปรายผลในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวางบนพื้นฐานของหลักวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
. ความเป็นที่เชื่อถือได้ของข้อมูลและความเที่ยงตรงของการวิจัย ความเชื่อถือได้ของข้อมูลพิจารณาในแง่ความเหมาะสมของวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงส่วนความเที่ยงของงานวิจัย พิจารณาในแง่ที่ว่างานวิจัยนั้นสามารถตอบปัญหาการวิจัยได้มีความรัดกุมในการควบคุมตัวแปร ตลอดทั้งการที่จะนำผลการวิจัยไปอ้างอิงกับประชากร
. การเสนอบทความวิจัย พิจารณาในแง่การใช้ภาษาเรียบเรียงเพื่ออธิบายงานวิจัย การลำดับและความต่อเนื่องในการเรียง ซึ่งเป็นการสื่อความเข้าใจให้ผู้อ่านและมีแบบแผนในการเขียนอ้างอิงอย่างเหมาะสมอันเป็นลักษณะรายงานการวิจัยฉบับย่อที่ดี
. คุณค่า หรือประโยชน์ของงานวิจัย พิจารณาในแง่ความสำคัญในเชิงการค้นพบทฤษฎี คือ ได้องค์ความรู้ใหม่ หรือการประยุกต์ หรือนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา หรือนำไปกำหนดเป็นเชิงนโยบายได้
. กรณีงานวิจัยมีการถ่ายภาพขณะดำเนินงานวิจัย ให้แทรกภาพในบทความตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ หรือความเกี่ยวข้อง
การเขียนเอกสารอ้างอิงและการอ้าง ใช้ระบบ APA มีหลักเกณฑ์ดังนี้
· ชื่อวารสาร ชื่อหนังสือ และปีที่ (volume) ใช้ตัวเอน และไม่ใช้ชื่อย่อ
· เขียนชื่อผู้แต่งโดยขึ้นต้นด้วย last name ตามด้วยจุลภาค (,) และชื่อย่อตามด้วยมหัพภาค (.)
· ชื่อไทยขึ้นต้นด้วยชื่อตัว ตามด้วยนามสกุล
· กรณีผู้แต่งมากกว่าหนึ่งคน ให้เขียนชื่อผู้แต่งทั้งหมดทุกคน คั่นระหว่างชื่อด้วยจุลภาค(,) และ ใส่เครื่องหมาย & ก่อนชื่อสุดท้าย
· ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อเรื่อง หรือชื่อวารสาร หรือชื่อหนังสือ ตามด้วยปีที่พิมพ์
· ถ้าผู้แต่งเป็นหน่วยงาน หรือองค์กร ให้ใช้ชื่อหน่วยงานหรือองค์กรแทนชื่อผู้แต่ง
· เรียงลำดับรายการตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง และมีเลขลำดับที่1, 2, 3...กากับ
· รายการที่มีทั้งเอกสารภาษาไทยและอังกฤษ ให้นำข้อมูลภาษาไทยขึ้นก่อน
· รายการภาษาอังกฤษพิมพ์โดยใช้ Single space
· บรรทัดที่สองและบรรทัดต่อๆไปของแต่ละรายการให้ย่อหน้าเข้ามา 5-7 ตัวอักษร หรือประมาณครึ่งนิ้ว
· การอ้าง- อ้างโดย(ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) หรือชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์)
· ไม่อ้างโดยใช้คำว่าและคณะหรือและคนอื่นๆหรือ et al. ไม่ว่าจะมีผู้แต่งกี่คน ยกเว้นกรณีอ้างในเนื้อเรื่องที่มีผู้แต่ง
ตั้งแต่สามถึงห้าคนขึ้นไปและหลังจากได้มีการอ้างครั้งแรกไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว หรือการอ้างที่มีผู้แต่งตั้งแต่หกคนขึ้นไป
· การอ้างจากวารสารและนิตยสารให้ระบุหน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย โดยไม่ใช้คำย่อ “p.” หรือ “pp.” นอกจากหนังสือ
· การติดต่อส่วนตัวโดยสื่อใดๆก็ตาม สามารถอ้างอิงได้ในเนื้อเรื่อง แต่ต้องไม่มีการระบุไว้ในรายการเอกสารอ้างอิงเพราะผู้อื่นไม่สามารถ
ติดตามข้อมูลเหล่านี้ได้
· การอ้างจาก website ให้ระบุวัน เดือน ปีที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฎให้อ้างวันที่ทำการสืบค้นและระบุURL ให้ชัดเจน ถูกต้อง เมื่อจบ URL
address ห้ามใส่จุด (.) ข้างท้าย
· website ไม่บอกวันที่ ให้ระบุn.d.
รูปแบบและตัวอย่างการอ้างอิงจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ
1. วารสารและนิตยสาร
. วารสารเรียงลำดับหน้าโดยขึ้นต้นหน้าหนึ่งทุกครั้งเมื่อขึ้นฉบับใหม่ให้ระบุ(ฉบับที่)
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
Author(s). (Year of publication). Title of article. Title of periodical or journal,Volume(issue),
First–last page.
ตัวอย่าง: ขวัญฤทัย คำขาว และเตือนใจ สามห้วย. (2530). สีธรรมชาติ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 30(2), 29-36.
Acton, G. J., Irvin, B. L., & Hopkins, B. A. (1991). Theory-testing research:
building the science. Advance in Nursing Science, 14(1), 52-61.
. วารสารเรียงลำดับหน้าหนึ่งถึงหน้าสุดท้ายต่อเนื่องกันตลอดปี ไม่ต้องระบุ(ฉบับที่)
ตัวอย่าง: ขวัญฤทัย คำขาว และเตือนใจ สามห้วย. (2530). สีธรรมชาติ.วารสารคหเศรษฐศาสตร์,30, 29-36.
Dzurec, L. C., & Abraham, I. L. (1993). The nature of inquiry linking quantitative and
qualitative research nursing. Journal of Advanced Nursing, 18, 298-304.
2. หนังสือ
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง: จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2538). วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
Okuda, M., & Okuda, D. (1993). Star Trek chronology: The history of the future. New York:
Pocket Book.
James, N. E. (1988). Two sides of paradise: The Eden meet according to
Kirk and Spock. In D. Palumbo (Ed.), Spectrum of the fantastic (pp. 219- 223). Westport,
CT: Greenwood.
หนังสือที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่งหรือบรรณาธิการ ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อหนังสือ
ตัวอย่าง: Merriam-Webster’s collegiate dictionary (10 th ed.). (1993). Springfield, MA:
Merriam- Webster.
3. รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง. ชื่อเอกสารรวมเรื่องรายงานการประชุม, วัน เดือน ปี สถานที่จัด. เมืองที่พิมพ์:
สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง: กรมวิชาการ. 2538. การประชุมปฏิบัติการรณรงค์เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน, 25-29 พฤศจิกายน 2528
วิทยาลัยครูมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ.
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1991). A motivational approach to self:
Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on
Motivation: Vol. 38. Perspectives on Motivation (pp. 237-288). Lincoln: University of
Nebraska Press.
4. บทความจากหนังสือพิมพ์
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์, เดือน, วันที่). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้าที่นำมาอ้าง.
ตัวอย่าง: สายใจ ดวงมาลี. (2548, มิถุนายน 7) มาลาเรียลาม3จว.ใต้ตอนบน สธ.เร่งคุมเข้มกันเชื้อแพร่หนัก.
คม-ชัด-ลึก, 25.
Di Rado, A. (1995, March 15). Trekking through college: Classes explore
modern society using the world of Star Trek. Los Angeles Time, p. A3.
5. วิทยานิพนธ์
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์, สถาบันการศึกษา. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง: พันทิพา สังข์เจริญ. 2528. วิเคราะห์บทร้อยกรองเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม-พรรษา 5 ธันวาคม.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพๆ.
Darling, C. W. (1976). Giver of due regard: the poetry of Richard Wilbur. Unpublished
doctorial dissertation, University of Conecticut, Storrs, CT.
6. พจนานุกรม
ตัวอย่าง: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2542. (2546). กรุงเทพๆ: นานมีบุ๊คพับลิ เคชัน.
Shorter Oxford English dictionary (5 th ed.). (2002). New York: Oxford University Press.
7. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง, วันที่ทำการสืบค้น. ชื่อฐานข้อมูล. URL
Author(s). ( date-or “n.d.”). Title of work. (Online), date retrieved. Name of
Database or Internet address of the specific document. Specify URL exactly.
ตัวอย่าง: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. (2545). ประเพณีใส่กระจาดชาวไทยพวนสอน
ให้รู้จักแบ่งปัน มีน้าใจ, 7 มิถุนายน 2548. http://www.m-culture.go.th/culture01/highlight/highlightdetail.
php?highlight_id=114&lang=th
Lynch, T. (1996). DS9 trials and tribble-ations review. Retrieved October 8,1997, from Psi Phi:
Bradley’s Science Fiction Club Website: http://www.bradley.edu/psiphi/ DS9/ep/503r.html
กองบรรณาธิการวารสารบัณฑิตวิจัย
สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น ๑๓ อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ ๒๐๒ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
๕๐๓๐๐ หรือ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่
E-mail Address: graduatejournal@cmru.ac.th
แบบนำส่งบทความวิจัยเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
วัน/เดือน/ปี ที่ส่งบทความวิจัย............/................................/.................
ชื่อสกุล ผู้เขียนบทความวิจัย.............................................................................................................................................................................
นักศึกษาระดับ O ปริญญาโท สาขา.........................................................มหาวิทยาลัย........................................................................
O ปริญญาเอก สาขา.........................................................มหาวิทยาลัย........................................................................
สถานที่ติดต่อได้สะดวก........................................................................................................................................................................................จังหวัด.....................................................................................รหัสไปรษณีย์.............................โทรศัพท์...........................................................โทรสาร..............................................โทรศัพท์มือถือ......................................................E-mail…………………………….…………………………………..
ชื่อเรื่อง(ภาษาไทย)..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... (ภาษาอังกฤษ)................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ....................................................................................ผู้ส่งบทความ
(......................................................................................)
คำรับรองของอาจารย์ที่ปรึกษา
ข้าพเจ้าได้พิจารณากลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาบทความวิจัย และนักศึกษาได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าขอรับรองว่าบทความวิจัยของนักศึกษามีคุณภาพและสามารถนำไปเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการได้
ลงชื่อ................................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (หลัก)
(........................................................................................................)
ลงชื่อ................................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (ร่วม)
(.........................................................................................................)
ลงชื่อ................................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (ร่วม)
(.........................................................................................................)
สำหรับเจ้าหน้าที่
เลขรับบทความ...................................................................//ป ที่ได้รับบทความ...............................................................
//ป ที่ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิ....................................................//ป ที่ได้รับคืน......................................................
ชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความ........................................................................................................................................
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับค่าลงทะเบียนบทความวารสารบัณฑิตวิจัยปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (สำหรับบุคคลภายนอก) จาก................................................................................................................................................
สังกัด............................................................................................. เป็นจำนวนเงิน .......................................................บาท ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงลงนามรับทราบ
ลงชื่อ...........................................................
ผู้ตอบรับ

.........../................../.................

เกี่ยวกับผู้เรียบเรียง

นักการตลาดกากๆคนหนึ่ง

ผู้ที่ชอบสังเกตุเรื่องราวต่างๆ แล้วมารวมแนวคิด กลั่นมันออกมา

แสดงความคิดเห็น

 
MBA Marketing © 2015