วิสัยทัศน์ของโตโยต้าประเทศไทย
1. เป็นบริษัทแกนนําของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค และเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก
2. เป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุด ในประเทศไทย
หลักการของโตโยต้าประเทศไทย
1. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง
2. เคารพและยอมรับผู้อื่น
3. ยึดหลักความพึงพอใจของลูค้า
4. ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด
5. รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจของโตโยต้าประเทศไทย
1. สร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างเอเชีย แปซิฟิค
2. บรรลุการเป็นผู้นํา ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด
3. กําหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สําคัญที่สุด ของกิจกรรมรากฐานของบริษัท
4. สร้างสังคมที่มีคุณภาพโดยการทํากิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม
การวิเคราะห์กรณีศึกษาบริษัท โตโยต้า
ในปัจจุบันบริษัท โตโยต้า ถือว่าเป็นองค์กรที่ประสบความสําเร็จสูงสุดในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการบริหารที่มีคุณภาพในทุก ๆ ปัจจัย ขั้นตอน กระบวนการ และระบบ ทั้งภายในองค์กรของตนเองและเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจโดยความสําเร็จดังกล่าว โตโยต้าได้เผชิญกับปัญหาด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเรียกคืนรถรุ่นต่างๆ ทั่วโลกที่มีปัญหากว่า 10 ล้านคันเพื่อเข้ารับการตรวจสอบพร้อมทั้งแก้ไข เนื่องจากพบว่าปัญหาเกิดจากความบกพร่องด้านคุณภาพและการออกแบบโดยได้ขอรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ เพื่อรักษาชื่อเสียงขององค์กรที่จะไม่ยอมให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพขึ้นอย่างเด็ดขาดและอีกวิกฤตการณ์หนึ่งที่โตโยต้าได้เผชิญคือ สถานการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เนื่องจากโรงงานประกอบรถยนต์ในญี่ปุ่นได้หยุดสายการผลิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ แต่โตโยต้าก็สามารถกลับมาเดินสายการผลิตการประกอบรถยนต์ทุกแห่งในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 หลังจากสถานการณ์การฟื้นตัวดีขึ้นโดยดําเนินการผลิตตามออเดอร์ที่ยังอยู่ในระดับสูงตามภาคการผลิตรถยนต์ และยอดค้างส่งมอบรถยนต์สําหรับประเทศไทยยอดจองรถยนต์ในงานมอเตอร์โชว์ช่วงต้นปีที่ผ่านมาโตโยต้าก็ยังเป็นอันดับ หนึ่งที่มียอดจองรถสูงสุดอีกทั้งได้มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่หลายรุ่นดังนั้นออเดอร์ชิ้นส่วนรถยนต์จะยังคงมี เข้ามาอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของความต้องการใช้รถยนต์ ยอดขายที่ขยายตัวได้ดีเป็นผลมาจาก
1. ภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. รายได้ของเกษตรกรที่ขยายตัวได้ดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น
3. การจ้างงานที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
4. ความคล่องตัวของการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ และ อัตราดอกเบี้ย ก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
5. การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด
กลยุทธ์ใหม่ของโตโยต้า คือแผนทุ่มเทเพื่อเร่งการผลิตรถไฮบริด ซึ่งเป็นรถยนต์ประหยัดพลังงาน และการพัฒนาตลาดใหม่ในประเทศที่เศรษฐกิจกําลังเติบโตมากกว่ากลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งรายสําคัญทั้งในตลาดญี่ปุ่นและทั่วโลก แม้จะต้องยอมรับแผนธุรกิจที่มีอัตรากําไรที่ไม่เติบโตมากนัก แต่ต้องการมีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพอย่างยั่งยืน
การวิเคราะห์ด้วยหลัก 4 P
Product (ผลิตภัณฑ์)
- ตัวสินค้า คือ รถยนต์ยี่ห้อ TOYOTA เป็นรถยนต์ที่มีราคาไม่สูงมากนัก เพียบพร้อมทั้งการออกแบบที่สวยงามกว่ารุ่นก่อนๆที่เคยได้ผลิตออกมาและด้วยตราสินค้าที่มีมานานแล้วจะทําให้ความน่าเชื่อถือของสินค้ามีมากตามไปด้วย การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวสินค้าสร้างการจดจําได้ง่ายขึ้น
- ประสิทธิภาพสําหรับรถยนต์ของToyotaนี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานค่อนข้างเหมาะสมกับราคาที่ไม่สูงมากนัก และถ้านํามาเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นเล็กของยี่ห้ออื่นๆ ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกันมากนัก
- ความทนทานด้วยตัวสินค้านั้นเป็นรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นในเรื่องของความแข็งแรงของตัวรถนั้น คงไม่สามารถเปรียบเทียบกับรถที่ผลิตจากแทบยุโรปได้ แต่ถึงตัวรถจะไม่แข็งแรงมากนัก แต่ระบบรักษาความปลอดภัยภายในรถก็ยังคอยสนับสนุนลูกค้าได้อย่างดี และเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นเล็กในยี่ห้ออื่น ในเรื่องความทนทานของอะไหล่หรือตัวรถนั้นก็ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อะไหล่ของ TOYOTA นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ ซึ่งเป็นจุดที่ได้เปรียบกว่ารถยนต์ยี่ห้ออื่นๆ
- รูปแบบสินค้า รถยนต์ TOYOTA นี้ ได้ออกแบบใหม่ให้รูปร่างดูทันสมัยมากขึ้นกว่ารุ่นก่อน ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า และด้วยรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาออกไปก็ได้ช่วยสร้างการจดจําในตัวสินค้าได้เป็นอย่างดีซึ่งทางด้านคู่แข่งก็ได้ผลิตรถยนต์ที่มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยออกมาแข่งขันด้วยเช่นกัน
- ความสามรถในการอัพเกรดในการเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์นั้นก็สามารถทําได้อย่างกว้างขว้าง มีอะไหล่ที่รองรับความต้องการในการปรับแต่งรถยนต์มากมาย ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพของ รถยนต์นั้นจะช่วยทําให้รถยนต์นั้นมีสมรรถนะดีขึ้นอีกด้วย
- ความช่วยเหลือทางเทคนิคการใช้งานของสินค้านั้นไม่ยากเพราะด้วยระบบเกียร์ออโต้ที่นิยมใช้กันในสมัยนี้ ทําให้การขับขี่รถยนต์เป็นไปได้อย่างไม่ยากลําบาก และทางด้านศูนย์บริการก็มีกระจายอยู่ทั่วไปสามารถหาได้ง่ายและมีจํานวนมาก
- การติดตั้งในส่วนของการติดตั้งนั้น ได้ทําการประกอบมาตั้งแต่ศูนย์ผลิตแล้ว ซึ่งพร้อมให้ลูกค้าได้ใช้งานได้โดยทันทีหลังจากที่ซื้อสินค้าแล้ว แต่ในส่วนของการติดตั้งอะไหล่ที่ได้ปรับเปลี่ยนภายหลังนั้น จะต้องทําโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
Price (ราคา)
- ทางด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งด้วยกันแล้วจะมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยทําให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วยเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายนั้นให้ความสําคัญกับราคาด้วยและด้วยราคาของสินค้าในขณะนี้นั้นเหมาะสมกับ Product Life Cycle (วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ) ในขณะนี้
- การตั้งราคาสินค้าตั้งตาม Product Line Place
Place ( สถานที่)
การจัดจําหน่ายสินค้านั้นก็จะมีจําหน่ายทั่วไปตามโชว์รูมของ TOYOTA ซึ่งในปัจจุบันมีโชว์รูมเกิดขึ้นมามากมาย เพื่อทําให้ลูกค้าเกิดความสะดวกสบายมากที่สุดในการที่จะไปติดต่อสอบถามหรือบริโภคสินค้า มีการใช้กลยุทธ์เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาติดต่อหาข้อมูลที่โชว์รูม โดยใช้โฆษณาเป็นสื่อในการส่งข่าวสารรูปแบบการจัดจําหน่ายนั้น ก็จะเริ่มต้นที่ผู้ผลิตซึ่งผลิตมาจากโรงงาน แล้วจากนั้นจะส่งสินค้ามาตามตัวแทนจําหน่ายต่างๆ (Show Room) จากนั้นก็ติดต่อซื้อขายกับผู้บริโภค
Promotion (การส่งเสริมการตลาด)
- สื่อที่ใช้ในการโฆษณาเป็นสื่อหลักคือโทรทัศน์เพราะว่าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย และสามารถกระตุ่นความสนใจและความต้องการได้ด้วยการใช้ภาพและเสียง และสื่อเสริมจะเป็นพวกนิตยสารต่าง ๆ ซึ่งภายในนิตยสารนั้นจะให้รายละเอียดต่างๆไว้มากกว่าในโทรทัศน์เพื่อที่จะให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ข่าวสารอย่างเพียงพอแก่ความต้องการแต่สื่อที่น่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด คือ สื่อโทรทัศน์เพราะว่าในยุคปัจจุบันนี้โทรทัศน์นั้นเป็นสิ่งที่จําเป็นของทุกๆครอบครัว และการใช้สื่อประเภทนี้เข้าไปทําการโฆษณาจะช่วยได้มาในเรื่องของการสร้างภาพลักษณ์ การทําให้เกิดการจดจํา
- จุดขายที่ใช้ในปัจจุบัน TOYOTA จะเน้นในเรื่องของการออกแบบรูปทรงของตัวรถยนต์ที่ดูทันสมัยมากขึ้น ซึ่งในจุดเด่นตรงนี้ก็ยังสามารถนําไปใช้เป็นจุดขายต่อๆ ไปในอนาคตได้ เพราะ ส่วนมากแล้วผู้บริโภคค่อนข้างที่จะให้ความสําคัญต่อรูปร่างของผลิตภัณฑ์ประเภทรถยนต์
- จุดเด่นของสินค้าเป็นเรื่องของรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยมากขึ้นซึ่งเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน และในการที่จะใช้จุดเด่นนี้มาใช้ในการโฆษณานั้น เราก็จําเป็นที่จะต้องทําโฆษณาโดยดึงเอาการออกแบบ หรือทําให้ผู้บริโภคได้เห็นรูปร่างของรถยนต์สวยงาม นั้นเพื่อที่จะช่วยในการสร้างภาพลักษณ์และการจดจําที่ดีขึ้น
- ภาพลักษณ์ของสินค้าเป็นสินค้าที่ได้รับความน่าเชื่อถือได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคเพราะ Brand หรือ ตราสินค้านั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จึงทําให้เกิดความจดจํา และยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ไปด้วย
- Positioning การจัดตำแหน่งของสินค้าคือ แนวคิดในการบริการที่ "พร้อมจะมอบความพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าโดยประกันการสร้างคุณภาพในทุกกระบวนการ"ผสานกับความมุ่งมั่นของเหล่าพนักงานโตโยต้าคือเบื้องหลังความสําเร็จของโตโยต้า ที่ผลักดันให้บริษัทฯ ครองความเป็นอันดับหนึ่งของผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง
การวิเคราะห์กลยุทธ์โดยใช้หลัก (SWOT)
Strength (การวิเคราะห์ด้านจุดแข็ง )
โตโยต้ามีมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพที่เรียกว่า Toyota Evaluation Quality Auditเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากทุกสายการผลิตทั่วโลก รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น เป็นประจําทุกปีเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของสินค้าในแต่ละประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์โตโยต้ามีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เรามีตั้งแต่รถยนต์ระดับหรู(Luxury)มาจนถึงกลุ่มรถขนาดประหยัด(Economy Car)รถเพื่อการพาณิชย์ในกลุ่มรถปิกอัพ
ด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยทําให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วย
เป็นเทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องการประหยัดพลังงานและลดมลภาวะ รักษาสิ่งแวดล้อม
การออกแบบที่มีประสิทธิภาพ เลือกใช้วัสดุน้ําหนักเบา ทําให้รถมีน้ําหนักเบา มีความคล่องตัวสูง และลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ํามันลง
Weakness (การวิเคราะห์ด้านจุดอ่อน )
- ประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีในการผลิต และการออกแบบรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เป็นของตนเอง
- ประเทศไทยยังให้ความสําคัญกับการวิจัยและพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มากเพียงพอ ซึ่งไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมรถยนต์เท่านั้นยังรวมถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย
- ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรระดับสูงในด้านการผลิตและการออกแบบในอุตสาหกรรมรถยนต์รวมถึงชิ้นส่วนรถยนต์
- มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ ในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ
Opportunity (การวิเคราะห์ด้านโอกาส )
- การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ํามัน ทําให้คนหันมาใส่ใจในการประหยัดน้ํามัน
- ผู้คนให้ความสนใจในเรื่องการลดภาวะโลกร้อนและการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- รัฐบาลและประชาชนหันมาสนใจในการแก้ปัญหามลภาวะ โดยรัฐบาลอเมริกาเป็นผู้ผลักดันในการควบคุมปัญหามลภาวะอากาศ
Treat (การวิเคราะห์ด้านอุปสรรค )
รัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุนกับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ Big Tree ซึ่งมุ่งหวังจะสร้างความเข็มแข็งในการแข่งขันให้กับสหรัฐอเมริกา โดยการพัฒนาเทคโนโลยีสําหรับรถยนต์ในยุคใหม่
ยังมีรถที่ใช้พลังงานทางเลือก เช่น รถที่ใช้ Fuel Cell , Ethanol, Methanol, Natural gas, LPG, Bio Fuel, Hydrogen และ Reformulate Gasoline ทั้งหมดนี้คือ รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคู่แข่งของรถยนต์ hybrid ในอนาคต
ราคาชิ้นส่วนและวัสดุในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น
เศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลให้อัตราการการบริโภคลดลงด้วย
แม้ว่าในวันนี้โตโยต้าจะก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างเต็มตัว แต่โตโยต้าได้ประกาศให้สังคมรับรู้ว่าการเป็นบริษัทรถยนต์เบอร์ 1 ของโลก ไม่ควรวัดจากจํานวนรถยนต์ที่ผลิตหรือจําหน่าย หรือการมียอดขายหรือผลกําไรสูงสุดในโลก แต่บริษัทรถยนต์อันดับหนึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน
วิเคราะห์ความหลากหลายของศาสนา
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทหนึ่งที่มีความหลากหลายทางศาสนา ของกลุ่มลูกจ้าง เนื่องจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มีโรงงานและสาขาอยู่ทุกภาคภายในประเทศจึงทำให้ องค์กรเกิดความหลายหลายทางด้านศาสนา ซึ่งการรับพนักงานเข้าทำงานของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด) นั้น จะต้องใช้คนท้องถิ่นเข้าทำงานร่วมกัน เพื่อเข้าใจ เข้าถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่น อีกทั้งศาสนาอย่างเช่น ศาสนาอิสลามในการทำงานในสถานที่ทำงาน จะต้องจัดให้มีห้องละหมาดในบริษัท หรือแม้แต่หัวหน้างาน หัวหน้าแผนกของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นชาวญี่ปุ่น เราก็ต้องรู้ถึงขนบธรรมเนียม เข้าถึงวัฒนธรรมของอีกฝ่าย เพื่อประสบความสำเร็จในการทำงานอีกด้วย
วิเคราะห์ความหลากหลายของความสามารถและระดับการศึกษา
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เน้นการฟูมฟักพัฒนาพนักงานในองค์กรให้ก้าวขึ้นไปผู้นำที่ดีในอนาคต การสรรหาพนักงานของโตโยต้า จะรับคนที่มีทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะน้อยมาก หากเทียบกับองค์กรอื่น เมื่อคำนึงถึงคุณลักษณะพื้นฐานที่ชอบตั้งคำถาม ค้นหาและแก้ปัญหา ห่วงใยผู้อื่น ยืดหยุ่น ปรับตัวได้ดี มีความมั่นใจและมีความคิดสร้างสรรค์ ก่อนเข้าสู่ “กระบวนการเรียนรู้แบบโตโยต้า” ต่อไป
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สอนให้พนักงานเหนรู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดไม่ใช่จากการล้มเหลว เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรู้จักคิดใหม่ทำใหม่การส่งเสริมและพัฒนาทักษะในการทำงานของบุคลากร การได้รับรางวัลในครั้งนี้จะเป็นขวัญกำลังใจสำคัญของเราในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของโตโยต้าต่อไปอย่างต่อเนื่อง
แสดงความคิดเห็น