วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การส่งบทความเพื่อส่งตีพิมพ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

การส่งบทความ
เจ้าของบทความต้องส่ง
1. ใบสมัครขอส่งบทความลงตีพิมพ์
2. ไฟล์ต้นฉบับบทความที่จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word for Windows บันทึกลงแผ่น CD-ROM จำนวน 1 แผ่น
3. เอกสารบทความจำนวน 4 ชุด โดยเอกสารชุดที่ 1 ต้องมีรายละเอียดครบตามแบบฟอร์มวารสาร
ของศูนย์สำนักพิมพ์ มศว ส่วนเอกสารอีก 3 ชุด ไม่ต้องพิมพ์ชื่อเจ้าของบทความและสถานที่ทำงาน
ส่งถึงศูนย์สำนักพิมพ์ มศว (สำนักงานอธิการบดี ชั้น ห้อง 951) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 หรือติดต่อสอบถามที่ คุณอดิศัย มัตเดช, คุณอานัตต์ ปิ่นทอง
และคุณนิพนธ์ ราชวุฒิ เบอร์โทรศัพท์ (02) 649-5000 ต่อ 5911, 5912, 5791 โทรสาร (02) 258-8938
E-mail: swujournal@swu.ac.th ผู้เขียนบทความสามารถติดตามรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มวารสาร
ได้ที่ http://pubcenter.swu.ac.th
ทั้งนี้เมื่อบทความได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนบทความจะได้รับวารสารฉบับที่บทความนั้นตีพิมพ์ จำนวน 5 ฉบับ และได้รับสำเนาการพิมพ์ จำนวน 10 ชุด โดยจะให้ผู้เขียนที่เป็นชื่อแรก

รายละเอียดการเตรียมบทความเพื่อส่งตีพิมพ์
วัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์วารสาร
ด้วยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีนโยบายสนับสนุนในการเผยแพร่ผลงานวิชาการในรูปแบบ
ของวารสาร เพราะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ทางวิชาการแก่สังคม และประเทศชาติ จึงได้จัดทำวารสาร
1.  วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
2.  วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา  (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
เพื่อเป็นการเผยแพร่บทความทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยจัดทำเป็นวารสารราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ/สาขา) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เผยแพร่ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพของบุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 2) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ และ 3) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของบุคลากร

คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ
            บทความที่รับตีพิมพ์ในวารสารได้แก่ 1) นิพนธ์ต้นฉบับที่เป็นบทความวิจัย 2) นิพนธ์ปริทัศน์ 3) บทความวิชาการ 4) บทวิจารณ์เชิงวิชาการ โดยให้พิมพ์ผลงานด้วยกระดาษ เอ 4 พิมพ์หน้าเดียว จำนวนไม่เกิน 15 หน้า
            ส่วนประกอบของบทความวิจัย ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย อุปกรณ์และวิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล และเอกสารอ้างอิง
          หมายเหตุ: ทุกบทความต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในกรณีที่ตีพิมพ์บทความเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยด้วย

ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับ
  • ขนาดกระดาษ เอ 4
  • กรอบของข้อความ ในแต่ละหน้าให้มีขอบเขตดังนี้ จากขอบบนของกระดาษ 1.25 นิ้ว ขอบล่าง 1.0 นิ้ว ขอบซ้าย 1.25 นิ้ว ขอบขวา 1.0 นิ้ว
  • ระยะห่างระหว่างบรรทัด หนึ่งช่วงบรรทัดของเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ตัวอักษร ใช้บราววัลเลีย นิว (Browallia New) และพิมพ์ตามที่กำหนดดังนี้
o     ชื่อเรื่อง (Title)
- ภาษาไทย ขนาด 18 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา
- ภาษาอังกฤษ (ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่) ขนาด 18 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา 
o     ชื่อผู้เขียน (ทุกคน)
- ชื่อผู้เขียน ภาษาไทย อังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา
- ที่อยู่ผู้เขียน ขนาด 14 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา
o     บทคัดย่อ
- ชื่อ บทคัดย่อและ “Abstract” ขนาด 16 point, กำหนดกึ่งกลาง, ตัวหนา
- ข้อความบทคัดย่อภาษาไทย ขนาด 14 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา
- ข้อความบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา
- ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
o   คำสำคัญ (Keyword) ให้พิมพ์ต่อจากส่วนบทคัดย่อ (Abstract) ก่อนขึ้นส่วนของเนื้อหา ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ ประมาณ 4-5 คำ  ใช้ตัวอักษรภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ขนาด 14 point


o     รายละเอียดบทความ
-  หัวข้อใหญ่ ขนาด 16 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา
-  หัวข้อรอง ขนาด 14 point, กำหนดชิดซ้าย, ตัวหนา
-  ตัวอักษร ขนาด 14 point, กำหนดชิดขอบ, ตัวธรรมดา
-  ย่อหน้า 0.5 นิ้ว
  •  คำศัพท์ ให้ใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
  • ภาพและตาราง กรณีมีภาพและตารางประกอบ ชื่อภาพให้ระบุคำว่า ภาพที่ ไว้ใต้ภาพประกอบและจัดข้อความบรรยายภาพให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ชื่อตารางให้ระบุคำว่า ตารางที่ หัวตารางให้จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษ และใต้ภาพประกอบหรือตารางให้บอกแหล่งที่มาโดยพิมพ์ห่างจากชื่อภาพประกอบหรือเส้นคั่นใต้ตาราง 1 บรรทัด ใช้ตัวอักษรขนาด 14 point ตัวปกติ
  •  กิตติกรรมประกาศ ให้ประกาศเฉพาะการได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย
  • การเขียนเอกสารอ้างอิง 1) เอกสารอ้างอิงทุกฉบับต้องมีการอ้างอิงหรือกล่าวถึงในบทความ 2) หัวข้อเอกสารอ้างอิงไม่ต้องใส่หมายเลขกำกับหน้าหัวข้อ 3) การเรียงลำดับเลขการอ้างอิงตามเอกสารอ้างอิงท้ายบทความให้อ้างอิงโดยการเรียงลำดับหมายเลขอ้างอิงเริ่มจากหมายเลข 1,2,3 ไปตามลำดับที่อ้างก่อน-หลัง โดยใช้เลขอารบิคภายใต้วงเล็บใหญ่ต่อจากบทความที่อ้างอิง เช่น ลักษณะการเจริญเติบโต [1]……… และทุกครั้งที่มีการอ้างซ้ำจะต้องใช้หมายเลขเดิมในการอ้างอิง 4) การอ้างอิงในตารางหรือในคำอธิบายตารางให้ใช้เลขที่สอดคล้องกับที่ได้เคยอ้างอิงมาก่อนแล้วในเนื้อเรื่อง
o   การอ้างอิงจากเอกสารมากกว่า 1 ฉบับต่อเนื่องกันจะใช้เครื่องหมายยติภังค์ (hyphen หรือ -)
เชื่อม ระหว่างฉบับแรกถึงฉบับสุดท้าย เช่น [1-3] แต่ถ้าอ้างถึงเอกสารที่มีลำดับไม่ต่อเนื่องกัน จะใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma หรือ ,) โดยไม่มีการเว้นช่วงตัวอักษร เช่น [4,6,10]
o   รายละเอียดของเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียน ชื่อบทความ ชื่อเอกสารที่ตีพิมพ์
ผู้พิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์ และเลขหน้าของบทความ หรือเป็นไปตามรูปแบบของชนิดการอ้างอิง เช่น อ้างอิงจากหนังสือ อ้างอิงจากวารสาร เป็นต้น
  • รูปแบบการพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ให้พิมพ์ตามลำดับการอ้างอิงตามหมายเลขที่ได้กำหนด

ไว้ภายในวงเล็บที่ได้อ้างถึงในเนื้อหาของบทความ โดยไม่ต้องแยกภาษาและประเภทของเอกสารอ้างอิง และพิมพ์หมายเลขลำดับการอ้างอิงไว้ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ถ้ารายการอ้างอิงมีความยาวมากกว่าหนึ่งบรรทัด ให้พิมพ์บรรทัดถัดไปโดยย่อหน้า และเว้นระยะ 7 ช่วงตัวอักษร หรือเริ่มพิมพ์ที่ช่วงตัวอักษรที่ 8 ลักษณะการอ้างอิงจะแตกต่างกันตามชนิดของเอกสารที่นำมาอ้างอิง ดังนี้
1.  อ้างอิงจากหนังสือ ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ครั้งที่พิมพ์.(ถ้ามี)//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง       
[1] นฤมิตร ลิ่วชันมงคล; สุภาพ แสงบุญไทย; และถาวร เก็งวินิจ. (2527). คู่มือตึกแถว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
              นำอักษรการพิมพ์.
[2] Davis, C.V. (1980). Handbook of Applied Hydraulics. 3rd Ed. New York, McGraw – Hill.

2.  อ้างอิงจากวารสาร ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ,//ชื่อวารสาร.//ปีที่(ฉบับที่),//หน้าที่อ้าง.
ตัวอย่าง
[3] ถวิล พึ่งมา; และ พิชญ์ บุญตรา. (2533). การพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนสำหรับประเทศไทย,
                 วิศวกรรมสาร
. 43(2), 73-76.
[4] Ozaki, M., Adachi, Y., Iwahori, Y. and Ishii, N. (1998). Application of Fuzzy Theory to Writer Recognition
              of Chinese Characters, International Journal of Modeling and Simulation, 18 (2), 112-116.

3.  อ้างอิงจากรายงานการประชุม ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ//ชื่อรายงานการประชุม//หน้าที่อ้าง.
ตัวอย่าง       
[5] Book, W.J. (1990). Modeling Design and Control of Flexible Manipulator Arms: A Tutorial Review.
                 Proceedings of 29th IEEE Conference on Decision and Control, San Francisco, CA, pp. 500-506.

 4.  อ้างอิงจากปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ชื่อปริญญา (ชื่อเต็ม).//หน่วยงาน.
ตัวอย่าง       
[6] จงกลรัตน์ อาจศัตรู. (2544). การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์
                 ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร
              มหาบัณฑิต  สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
              ลาดกระบัง.
[7] Choomchuay, S. (1993). Algorthm and Architecture for Reed-Solomon Decoding. Ph.D. Thesis, Imperial
                 Colleg, University of London, U.K.

5.  อ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ใช้รูปแบบดังนี้
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อเรื่อง.//[CD-ROM].//สถานที่ผลิต://ผู้ผลิต./ปีที่เผยแพร่.
ชื่อผู้แต่ง.//ชื่อเรื่อง.//[Online].//เข้าถึงได้จาก://วิธีการเข้าถึงและสถานที่ของข้อมูล/ปีที่เผยแพร่ (หรือสืบค้น).
ตัวอย่าง       
[8] Noam, E.M. Telecommunication Policy Issue for the Next Century. [online]. Available:
              gopher://198.80.36...//global/telcom.txt. 1994.
[9] Texas Instruments. Speech Synthesis Processors. [online] available :
              http://www.ti.com/sc/does/msp/speech/index.htm. 1998.
-------------------------------------------------

เกี่ยวกับผู้เรียบเรียง

นักการตลาดกากๆคนหนึ่ง

ผู้ที่ชอบสังเกตุเรื่องราวต่างๆ แล้วมารวมแนวคิด กลั่นมันออกมา

แสดงความคิดเห็น

 
MBA Marketing © 2015