บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หลักเกณฑ์ การส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ได้ดำเนินโครงการจัดทำวารสารวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งกำหนดที่จะจัดทำปีละ ๒ ฉบับต่อปี
ฉบับที่ ๑ เดือน มกราคม-มิถุนายน
และฉบับที่ ๒ เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม โดยมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
และเพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้นำเสนอผลงานด้วยการตีพิมพ์
เผยแพร่งานวิจัย วิทยานิพนธ์และบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ ในวารสารบัณฑิตวิจัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นผู้จัดทำขึ้น โดยมี ศาสตราจารย์/ผู้ทรงคุณวุฒิ ในสาขานั้นๆ ร่วมกันพิจารณาผลงานที่มีคุณภาพและมาตรฐานเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน
เพื่อให้การนำเสนอบทความมีกรอบและทิศทางเดียวกัน บรรณาธิการจึงได้กำหนดขั้นตอนและรูปแบบของการส่งบทความให้กับนักวิจัยและผู้ที่สนใจดังนี้
๑. ขั้นตอนการดำเนินการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย
๑.๑ พิมพ์บทความตามรูปแบบที่วารสารวิชาการบัณฑิตวิจัยกำหนด
๑.๒ การจัดส่งบทความ
๑.๒.๑ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปที่
E-mail Address: graduatejournal@cmru.ac.th
๑.๒.๒ ทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึง
กองบรรณาธิการวารสารบัณฑิตวิจัย
สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น
๑๓ อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ ๒๐๒ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๓๐๐
โดยทางกองบรรณาธิการจะดำเนินการจัดส่งบทความของท่านให้กรรมการพิจารณาคุณภาพและคัดเลือกบทความ (Peer Reviewers) ประเมินเพื่อตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย
๑.๒.๓ กำหนดการรับพิจารณาบทความ
กำหนดการรับบทความวิทยานิพนธ์
บทความวิชาการ และบทความวิจัย ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๖)
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่
๓๑ เดือน พฤษภาคม ๒๕๕๖
๑.๓ กำหนดให้กรรมการประเมินคุณภาพบทความ ดำเนินการประเมินคุณภาพบทความประมาณ
๓๐ วัน เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วทางกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการประเมิน เป็นลายลักษณ์อักษรภายใน
๗ วัน
๑.๔ หากต้องมีการแก้ไขปรับปรุง (ถ้ามี) เอกสารตามที่คณะกรรมการพิจารณาคุณภาพและคัดเลือกบทความเสนอแนะ
ให้ผู้เขียนบทความต้องดำเนินการแก้ไขและส่งกลับมายังกองบรรณาธิการภายใน ๑๕ วัน จึงจะได้รับการพิจารณาลงในวารสารหากผู้ส่งบทความไม่ปรับแก้ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ
ทางกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ให้กับบุคคลที่แก้ไขแล้วเท่านั้น
๑.๕ กองบรรณาธิการจัดส่งบทความที่แก้ไขปรับปรุงให้ผู้ประเมินคุณภาพบทความตรวจสอบอีกครั้ง
(ถ้ามี) โดยใช้เวลาไม่เกิน ๒๐ วัน
๑.๖ กองบรรณาธิการแจ้งผลการได้รับพิจารณา/ไม่ได้รับพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสาร ให้แก่เจ้าของบทความทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
กรณีได้รับพิจารณาให้ตีพิมพ์กองบรรณาธิการจะออกหนังสือรับรองให้แก่เจ้าของบทความ ตามที่อยู่ที่ผู้ส่งบทความแจ้งให้แก่กองบรรณาธิการ
๑.๗ เมื่อดำเนินการครบทุกบทความตามจานวนที่กำหนด
(ไม่เกิน ๒๐ บทความ ต่อ ๑ ฉบับ) กองบรรณาธิการจะดำเนินการตีพิมพ์เล่มวารสารเพื่อเผยแพร่
และนำเผยแพร่เป็นวารสารวิชาการฉบับออนไลน์บนเวปไซด์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๑.๘ กองบรรณาธิการดำเนินการประสานงานเพื่อประชาสัมพันธ์การส่งบทความ
ในวงรอบถัดไป
๑.๙ บทความที่เสนอ ต้องไม่เคยได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในที่อื่นมาก่อนและหากบทความที่เสนอได้รับการตอบรับให้จัดพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย
ผู้เสนอบทความต้องรับรองว่าจะไม่นำบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ที่อื่นอีก (เว้นแต่จะได้รับความยินยอมที่เป็นหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)
และหากเกิดความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น ผู้เสนอบทความยินดีรับผิดชอบความเสียหายนั้น
๑.๑๐ ต้องเป็นบทความวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาด้านสาขามนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์
๑.๑๑ บัณฑิตวิทยาลัย จะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
๑.๑๒ สำหรับบุคคลภายนอก ค่าลงทะเบียน บทความละ
๑,๐๐๐ บาท บัณฑิตวิทยาลัย ขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนค่าลงทะเบียนให้ในทุกกรณีรวมทั้งกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิ
(Peer Review) ประเมินบทความและให้ความเห็นว่าไม่สมควรเผยแพร่ในวารสารบัณฑิตวิจัย
อนึ่งการส่งบทความสามารถดำเนินการส่งได้ตามที่แจ้งประกาศ
กองบรรณาธิการจะดำเนินการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับตามที่กำหนดในวาระ และเมื่อดำเนินการครบตามกระบวนการประเมินคุณภาพบทความและได้รับคัดเลือกให้ตีพิมพ์
ทางกองบรรณาธิการจะทำเอกสารตอบรับการตีพิมพ์ให้แก่ผู้ส่งบทความ ตามลำดับ
๒. รูปแบบการเขียนบทความและการเตรียมต้นฉบับวารสาร
กองบรรณาธิการจะรับพิจารณากลั่นกรองเฉพาะต้นฉบับที่เป็นไปตามข้อกำหนดนี้เท่านั้น
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๒.๑ ต้นฉบับ เป็นต้นฉบับพิมพ์ใช้ภาษาไทยล้วน
หรือภาษาอังกฤษล้วนก็ได้ ใช้ภาษาวิชาการที่ถูกต้องตามหลักภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สำหรับภาษาไทยให้ใช้คำศัพท์และศัพท์บัญญัติตามที่ระบุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน
(สามารถค้นหาได้ที่ www.royin.go.th) พิมพ์แบบสองหน้าบนกระดาษ
A4 ใช้ตัวอักษรแบบ TH
Niramit จัดเป็น ๒ คอลัมน์ กำหนดความกว้างข้องคอลัมน์ประมาณ
๒.๙๘ นิ้ว ระยะห่างระหว่างคอลัมน์
๐.๒๕ นิ้ว บทความมีความยาวระหว่าง ๑๐ ถึง ๑๕ หน้าโดยเว้นระยะขอบเพื่อการเย็บเล่มหนังสือดังต่อไปนี้
ระยะขอบเพื่อการเย็บเล่ม
ระยะขอบบน ๑ นิ้ว (๑.๒๕ นิ้วเฉพาะหน้าแรก)
ระยะขอบล่าง ๐.๘ นิ้ว
ระยะขอบภายใน ๑.๒๕ นิ้ว
ระยะขอบภายนอก ๐.๘ นิ้ว
๒.๒ ชื่อเรื่อง กระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง
จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ ใช้ตัวอักษรหนา ขนาด ๒๐ พอยต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
๒.๓ ชื่อผู้เขียน ใช้ชื่อเต็ม ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อเขียนไว้ด้านขวาสุด
พร้อมใส่เครื่องหมาย 1 หรือ 2 ตามจานวนผู้เขียนไว้ท้ายชื่อ ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด
๑๔ พอยต์ และใส่รายละเอียดในเชิงอรรถ ให้ระบุสถานะของผู้เขียน ตำแหน่งทางวิชาการ(ถ้ามี) สถานที่ติดต่อ
และอีเมล์แอดเดรส (E-mail address)ของผู้เขียนทุกคน ใช้ตัวอักษรปกติ
ขนาด ๑๐ พอยต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาหลักและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
(ถ้ามี) ให้เขียนไว้ในลำดับต่อจากชื่อผู้วิจัยโดยมีขนาดตัวอักษร
และเครื่องหมายเชิงอรรถ เช่นเดียวกันกับผู้วิจัย
๒.๔ บทคัดย่อ (ABSTRACT) ใช้ภาษาอังกฤษความยาวไม่เกิน ๓๐๐ คำ จัดเป็น ๑ คอลัมน์ ภาษาไทยความยาวไม่เกิน
๕๐๐ คำ จัดเป็น ๑ คอลัมน์ ใช้ตัวอักษรปกติ ขนาด ๑๔ พอยต์ โดยพยายามใช้สำนวนกระชับ ชัดเจน
ที่สุด ส่วนที่เป็นชื่อหัวข้อ “บทคัดย่อ” “ABSTRACT” ให้พิมพ์เป็นตัวหนา
๒.๕ คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจานวนไม่เกิน ๕ คำ ใช้ตัวอักษรขนาด ๑๔ พอยต์ปกติและระบุไว้ท้ายบทคัดย่อ
ส่วนที่เป็นชื่อหัวข้อ “คำสำคัญ” “Keywords” ให้พิมพ์เป็นตัวหนา
๒.๖ เนื้อหา เนื้อหางานวิจัย ใช้ตัวอักษรขนาด
๑๔ พอยต์ปกติ ให้จัดเป็น ๒ คอลัมน์ เฉพาะส่วนที่เป็นหัวข้อให้พิมพ์เป็นตัวหนาชิดซ้ายขอบกระดาษ
ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
๑) บทนำ
๒) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๓) สมมุติฐานในการวิจัย
๔) วิธีการดำเนินการวิจัย
๕) ผลการวิจัย
๖) บทสรุป
๗ อภิปรายผล
๘) ข้อเสนอแนะ
๒.๗ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ หรืออื่นๆ ที่มีขนาดเล็กสามารถแทรกในเนื้อหาที่จัดเป็น
๒ คอลัมน์ได้ ยกเว้น ตาราง รูปภาพขนาดใหญ่ หรือแผนภูมิขนาดใหญ่ให้จัดเป็น ๑ คอลัมน์
(ตามตัวอย่าง)
๒.๘ เอกสารอ้างอิง การอ้างอิงภายในเนื้อเรื่องและภายใต้หัวข้อเอกสารอ้างอิงต้องตรงกันและให้ใช้ระบบอ้างอิงมาตรฐานเอพีเอ
(APA Style) จัดเป็น ๑ คอลัมน์ แนะนำให้ใช้ฟังก์ชั่นข้อมูลอ้างอิงและบรรณานุกรมอัตโนมัติของ
Microsoft Office word ๒๐๐๗ (หรือรุ่นที่สูงกว่า)
จะช่วยให้งานง่ายขึ้น
การประเมินบทความวิจัยเพื่อพิจารณาคุณภาพและคัดเลือกบทความ
เพื่อตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
การพิจารณาบทความ
บทความวิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ
และบทความวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องผ่านการพิจารณา ตรวจสอบ และคัดเลือก
จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer
reviewers) ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ก่อนจัดพิมพ์เผยแพร่ ในการดำเนินการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการในรูปแบบกองบรรณาธิการที่ประกอบด้วยบุคลากรทางวิชาการทั้งภายใน
และภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แบ่งตามกลุ่มสาขาวิชา
การยอมรับบทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารเป็นสิทธิของกองบรรณาธิการ
และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบ ในเนื้อหา หรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขบทความที่ส่งมาตีพิมพ์
และอาจส่งเรื่องคืนมายังผู้เขียนให้เพิ่มเติมหรือพิมพ์ต้นฉบับใหม่แล้วแต่กรณี
การประเมินบทความวิจัย
เพื่อช่วยให้ผู้เสนอบทความวิจัย
เขียนบทความวิจัยในแนวทางเดียวกับกรรมการพิจารณาคุณภาพและคัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร
จึงขอให้ผู้เสนอบทความวิจัย เขียนบทความวิจัย ให้ชัดเจน สอดคล้อง ครอบคลุมประเด็นในการพิจารณา
ดังนี้
๑. ความชัดเจนของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
หมายถึง มีการอธิบายถึงที่มาและขอบเขตของปัญหา ระบุความเกี่ยวข้องระหว่างตัวแปรหรือกรอบความคิดของงานวิจัย
มีการกำหนดจุดมุ่งหมายสอดคล้องกับปัญหาการวิจัย
๒. การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ให้เขียนในแง่การประมวลความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี การวิเคราะห์และสรุปรายงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กาลังศึกษา
และเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เหล่านั้นกับงานวิจัยปัจจุบัน เพื่อทำให้ปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนเป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐาน
การวางแผนและการออกแบบการวิจัย
๓. วิธีการดำเนินการวิจัย เกณฑ์การประเมิน จะพิจารณาว่าแบบการวิจัย
(Form Research) ว่ามีการออกแบบครบถ้วนทั้ง Sampling Design,
Measurement Design, และ Analytical Design หรือไม่
เพียงไร รวมทั้ง พิจารณาการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับระดับของตัวแปร และที่สำคัญ คืออธิบายถึงวิธีปัญหาวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย
รวมทั้งการทดสอบสมมติฐาน (ถ้ามี) ไว้อย่างครบถ้วนหรือไม่
๔. การสรุปผลและการอภิปรายผล จะพิจารณาในแง่ความเหมาะสมของค่าสรุป
คือ สรุปบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย การอภิปรายผลในแง่มุมต่างๆ
อย่างกว้างขวางบนพื้นฐานของหลักวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๕. ความเป็นที่เชื่อถือได้ของข้อมูลและความเที่ยงตรงของการวิจัย
ความเชื่อถือได้ของข้อมูลพิจารณาในแง่ความเหมาะสมของวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งจะทำให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงส่วนความเที่ยงของงานวิจัย
พิจารณาในแง่ที่ว่างานวิจัยนั้นสามารถตอบปัญหาการวิจัยได้มีความรัดกุมในการควบคุมตัวแปร
ตลอดทั้งการที่จะนำผลการวิจัยไปอ้างอิงกับประชากร
๖. การเสนอบทความวิจัย พิจารณาในแง่การใช้ภาษาเรียบเรียงเพื่ออธิบายงานวิจัย
การลำดับและความต่อเนื่องในการเรียง ซึ่งเป็นการสื่อความเข้าใจให้ผู้อ่านและมีแบบแผนในการเขียนอ้างอิงอย่างเหมาะสมอันเป็นลักษณะรายงานการวิจัยฉบับย่อที่ดี
๗. คุณค่า หรือประโยชน์ของงานวิจัย พิจารณาในแง่ความสำคัญในเชิงการค้นพบทฤษฎี
คือ ได้องค์ความรู้ใหม่ หรือการประยุกต์ หรือนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
หรือนำไปกำหนดเป็นเชิงนโยบายได้
๘. กรณีงานวิจัยมีการถ่ายภาพขณะดำเนินงานวิจัย
ให้แทรกภาพในบทความตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ หรือความเกี่ยวข้อง
การเขียนเอกสารอ้างอิงและการอ้าง
ใช้ระบบ APA มีหลักเกณฑ์ดังนี้
· ชื่อวารสาร ชื่อหนังสือ
และปีที่ (volume) ใช้ตัวเอน และไม่ใช้ชื่อย่อ
· เขียนชื่อผู้แต่งโดยขึ้นต้นด้วย
last name ตามด้วยจุลภาค (,) และชื่อย่อตามด้วยมหัพภาค
(.)
· ชื่อไทยขึ้นต้นด้วยชื่อตัว
ตามด้วยนามสกุล
· กรณีผู้แต่งมากกว่าหนึ่งคน
ให้เขียนชื่อผู้แต่งทั้งหมดทุกคน คั่นระหว่างชื่อด้วยจุลภาค(,) และ ใส่เครื่องหมาย & ก่อนชื่อสุดท้าย
· ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่ง
ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อเรื่อง หรือชื่อวารสาร หรือชื่อหนังสือ ตามด้วยปีที่พิมพ์
· ถ้าผู้แต่งเป็นหน่วยงาน
หรือองค์กร ให้ใช้ชื่อหน่วยงานหรือองค์กรแทนชื่อผู้แต่ง
· เรียงลำดับรายการตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง
และมีเลขลำดับที่1, 2, 3...กากับ
· รายการที่มีทั้งเอกสารภาษาไทยและอังกฤษ
ให้นำข้อมูลภาษาไทยขึ้นก่อน
· รายการภาษาอังกฤษพิมพ์โดยใช้
Single space
· บรรทัดที่สองและบรรทัดต่อๆไปของแต่ละรายการให้ย่อหน้าเข้ามา
5-7 ตัวอักษร หรือประมาณครึ่งนิ้ว
· การอ้าง-
อ้างโดย(ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์)
หรือชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์)
· ไม่อ้างโดยใช้คำว่า
“และคณะ” หรือ “และคนอื่นๆ”
หรือ et al. ไม่ว่าจะมีผู้แต่งกี่คน ยกเว้นกรณีอ้างในเนื้อเรื่องที่มีผู้แต่ง
ตั้งแต่สามถึงห้าคนขึ้นไปและหลังจากได้มีการอ้างครั้งแรกไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
หรือการอ้างที่มีผู้แต่งตั้งแต่หกคนขึ้นไป
· การอ้างจากวารสารและนิตยสารให้ระบุหน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย
โดยไม่ใช้คำย่อ “p.” หรือ “pp.” นอกจากหนังสือ
· การติดต่อส่วนตัวโดยสื่อใดๆก็ตาม
สามารถอ้างอิงได้ในเนื้อเรื่อง แต่ต้องไม่มีการระบุไว้ในรายการเอกสารอ้างอิงเพราะผู้อื่นไม่สามารถ
ติดตามข้อมูลเหล่านี้ได้
· การอ้างจาก
website ให้ระบุวัน เดือน ปีที่พิมพ์ ถ้าไม่ปรากฎให้อ้างวันที่ทำการสืบค้นและระบุURL
ให้ชัดเจน ถูกต้อง เมื่อจบ URL
address ห้ามใส่จุด
(.) ข้างท้าย
· website ไม่บอกวันที่
ให้ระบุn.d.
รูปแบบและตัวอย่างการอ้างอิงจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ
1. วารสารและนิตยสาร
ก. วารสารเรียงลำดับหน้าโดยขึ้นต้นหน้าหนึ่งทุกครั้งเมื่อขึ้นฉบับใหม่ให้ระบุ(ฉบับที่)
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์).
ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.
Author(s). (Year of
publication). Title of article. Title of periodical or journal,Volume(issue),
First–last page.
ตัวอย่าง: ขวัญฤทัย
คำขาว และเตือนใจ สามห้วย. (2530). สีธรรมชาติ. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 30(2),
29-36.
Acton, G. J., Irvin, B. L.,
& Hopkins, B. A. (1991). Theory-testing research:
building the science. Advance
in Nursing Science, 14(1), 52-61.
ข. วารสารเรียงลำดับหน้าหนึ่งถึงหน้าสุดท้ายต่อเนื่องกันตลอดปี
ไม่ต้องระบุ(ฉบับที่)
ตัวอย่าง: ขวัญฤทัย
คำขาว และเตือนใจ สามห้วย. (2530). สีธรรมชาติ.วารสารคหเศรษฐศาสตร์,30,
29-36.
Dzurec, L. C., & Abraham,
I. L. (1993). The nature of inquiry linking quantitative and
qualitative research nursing. Journal
of Advanced Nursing, 18, 298-304.
2. หนังสือ
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ.
เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง: จารุวรรณ
ธรรมวัตร. (2538). วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน.
อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
Okuda, M., & Okuda, D.
(1993). Star Trek chronology: The history of the future. New York:
Pocket Book.
James, N. E. (1988). Two sides
of paradise: The Eden meet according to
Kirk and Spock. In D. Palumbo
(Ed.), Spectrum of the fantastic (pp. 219- 223). Westport,
CT: Greenwood.
หนังสือที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่งหรือบรรณาธิการ ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อหนังสือ
ตัวอย่าง: Merriam-Webster’s
collegiate dictionary (10 th ed.).
(1993). Springfield, MA:
Merriam- Webster.
3. รายงานการประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการ
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อเรื่อง.
ชื่อเอกสารรวมเรื่องรายงานการประชุม, วัน
เดือน ปี สถานที่จัด. เมืองที่พิมพ์:
สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง: กรมวิชาการ. 2538. การประชุมปฏิบัติการรณรงค์เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน,
25-29 พฤศจิกายน 2528 ณ
วิทยาลัยครูมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ
กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ.
Deci, E. L., & Ryan, R. M.
(1991). A motivational approach to self:
Integration in personality. In
R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on
Motivation: Vol. 38.
Perspectives on Motivation (pp.
237-288). Lincoln: University of
Nebraska Press.
4. บทความจากหนังสือพิมพ์
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์, เดือน,
วันที่). ชื่อเรื่อง. ชื่อหนังสือพิมพ์, หน้าที่นำมาอ้าง.
ตัวอย่าง: สายใจ
ดวงมาลี. (2548, มิถุนายน
7) มาลาเรียลาม3จว.ใต้ตอนบน
สธ.เร่งคุมเข้มกันเชื้อแพร่หนัก.
คม-ชัด-ลึก, 25.
Di Rado, A. (1995, March 15).
Trekking through college: Classes explore
modern society using the world
of Star Trek. Los Angeles Time, p. A3.
5. วิทยานิพนธ์
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อวิทยานิพนธ์.
ระดับปริญญาของวิทยานิพนธ์, สถาบันการศึกษา.
เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง: พันทิพา
สังข์เจริญ. 2528. วิเคราะห์บทร้อยกรองเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม-พรรษา 5 ธันวาคม.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพๆ.
Darling, C. W. (1976). Giver
of due regard: the poetry of Richard Wilbur. Unpublished
doctorial dissertation,
University of Conecticut, Storrs, CT.
6. พจนานุกรม
ตัวอย่าง: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2542. (2546). กรุงเทพๆ: นานมีบุ๊คพับลิ
เคชัน.
Shorter Oxford English
dictionary (5 th ed.). (2002). New
York: Oxford University Press.
7. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบ: ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง,
วันที่ทำการสืบค้น. ชื่อฐานข้อมูล. URL
Author(s). ( date-or “n.d.”).
Title of work. (Online), date retrieved. Name of
Database or Internet address of
the specific document. Specify URL exactly.
ตัวอย่าง: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม. (2545). ประเพณีใส่กระจาดชาวไทยพวนสอน
ให้รู้จักแบ่งปัน มีน้าใจ, 7 มิถุนายน 2548.
http://www.m-culture.go.th/culture01/highlight/highlightdetail.
php?highlight_id=114&lang=th
Lynch, T. (1996). DS9 trials
and tribble-ations review. Retrieved October 8,1997, from Psi Phi:
Bradley’s Science Fiction Club
Website: http://www.bradley.edu/psiphi/ DS9/ep/503r.html
กองบรรณาธิการวารสารบัณฑิตวิจัย
สำนักงานบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น
๑๓ อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ ๒๐๒ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
๕๐๓๐๐ หรือ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ที่
E-mail Address:
graduatejournal@cmru.ac.th
แบบนำส่งบทความวิจัยเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
วัน/เดือน/ปี ที่ส่งบทความวิจัย............/................................/.................
ชื่อ–สกุล ผู้เขียนบทความวิจัย.............................................................................................................................................................................
นักศึกษาระดับ O ปริญญาโท สาขา.........................................................มหาวิทยาลัย........................................................................
O ปริญญาเอก สาขา.........................................................มหาวิทยาลัย........................................................................
สถานที่ติดต่อได้สะดวก........................................................................................................................................................................................จังหวัด.....................................................................................รหัสไปรษณีย์.............................โทรศัพท์...........................................................โทรสาร..............................................โทรศัพท์มือถือ......................................................E-mail…………………………….…………………………………..
ชื่อเรื่อง(ภาษาไทย).....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
(ภาษาอังกฤษ)................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ....................................................................................ผู้ส่งบทความ
(......................................................................................)
คำรับรองของอาจารย์ที่ปรึกษา
ข้าพเจ้าได้พิจารณากลั่นกรองและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาบทความวิจัย
และนักศึกษาได้แก้ไขตามข้อเสนอแนะดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าขอรับรองว่าบทความวิจัยของนักศึกษามีคุณภาพและสามารถนำไปเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการได้
ลงชื่อ................................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (หลัก)
(........................................................................................................)
ลงชื่อ................................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (ร่วม)
(.........................................................................................................)
ลงชื่อ................................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (ร่วม)
(.........................................................................................................)
สำหรับเจ้าหน้าที่
เลขรับบทความ...................................................................ว/ด/ป ที่ได้รับบทความ...............................................................
ว/ด/ป ที่ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิ....................................................ว/ด/ป ที่ได้รับคืน......................................................
ชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความ........................................................................................................................................
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ได้รับค่าลงทะเบียนบทความ “วารสารบัณฑิตวิจัย”
ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ (สำหรับบุคคลภายนอก)
จาก................................................................................................................................................
สังกัด.............................................................................................
เป็นจำนวนเงิน
.......................................................บาท ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงลงนามรับทราบ
ลงชื่อ...........................................................
ผู้ตอบรับ
.........../................../.................
แสดงความคิดเห็น