บทความวิชาการและวิจัย
เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้และผลงานวิชาการ ส่วนใหญ่มี
4
ประเภท
คือ
1. บทความวิจัย หมายถึง บทความที่มีรูปแบบการเขียนตามหลักวิชาการ กล่าวคือ มีการตั้ง
สมมุติฐานหรือกำหนดปัญหาที่ชัดเจน
สมเหตุสมผล โดยจะต้องระบุถึงวัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงานวิจัยมีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ
มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณา วิเคราะห์ ตีความ อภิปรายผล และสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบบรรลุวัตถุประสงค์หรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการหรือการนำวิชาการนั้นมาประยุกต์ใช้
2. บทความปริทรรศน์ หมายถึง บทความที่รวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือ
หนังสือต่างๆ
ทั้งในและต่างประเทศ ประกอบด้วย บทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหาที่ทบทวน บทวิจารณ์และเอกสารอ้างอิง
3. บทความวิชาการ หมายถึง บทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่ๆ
จากพื้นฐานวิชาการที่ได้เรียบเรียงมาจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชกาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้สนใจทั่วไป
ส่วนประกอบของบทความแต่ละประเภท
1.1. บทความวิจัย
ก.
หน้าแรก บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทย 1
หน้า และภาษาอังกฤษ 1 หน้า ประกอบด้วย
1. ชื่อบทความ (Title)
2. ชื่อผู้เขียนทุกคน (Authors)ให้ระบุเฉพาะชื่อและนามสกุล
โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม
3. ตำแหน่งทางวิชาการ และที่อยู่สำหรับการติดต่อทางไปรษณีย์ของผู้เขียนทุกคน เขียนไว้ใน
เชิงอรรถด้านล่างกระดาษ
4. ให้เขียนเครื่องหมาย * ไว้บนชื่อบทความเพื่อระบุแหล่งทุนที่ได้รับการอุดหนุนไว้ในเชิงอรรถ
และให้เขียนเครื่องหมาย ** ไว้บนนานสกุลเพื่อระบุ สังกัด ภาควิชา
คณะ มหาวิทยาลัย เมือง จังหวัด ไว้ในเชิงอรรถ
5. บทคัดย่อ (Abstract) ไม่เกิน 300 คำ หรือ 15-17 บรรทัด
6. คำสำคัญ (Key words)
7. ผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ทำเครื่องหมาย
*** ไว้บนนามสกุลและ
ระบุหมายเลขโทรศัพท์และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(e-mail) ไว้ในเชิงอรรถ
ข.
หน้าถัดไป ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
1. บทนำ (Introduction)
2. วัตถุประสงค์ (Objectives)
3. วิธีการทดลอง (Materials and Methods) วิธีการศึกษา
(Research Methodology) เป็นการ
อธิบายวิธีการดำเนินการวิจัยซึ่งขึ้นอยู่กับการวิจัยแต่ละประเภท
4. ผลการทดลองและวิจารณ์ผล หรือผลการศึกษาและอภิปรายผล (Results and
Discussion)
5. สรุป (Conclusion)
6. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) เป็นการระบุแหล่งทุน
สนับสนุนการวิจัย
7. เอกสารอ้างอิง (References)
1.2. บทความปริทัศน์ บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ
ก.
หน้าแรก มีส่วนประกอบเหมือนบทความวิจัย
ข.
ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
1. บทนำ (Introduction)
2. เนื้อหาสาระ
3. สรุป (Conclusion)
4. เอกสารอ้างอิง
(References)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น